“สิทธิบัตรทอง” สิทธิ์ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนไทยที่ควรรู้

“สิทธิบัตรทอง” สิทธิ์ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนไทยที่ควรรู้

เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย มักจะมาพร้อมกับค่ารักษาพยาบาลที่ตามมา หลายคนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษาเนื่องจากมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วคนไทยทุกคน มีสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดย สิทธิบัตรทอง คือ หนึ่งในนั้น

โดยปัจจุบันประเทศไทยนั้น การคุ้มครองสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ ได้แก่

1.สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ

2.สิทธิประกันสังคม

3.สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ สิทธิ 30 บาท หรือ “สิทธิบัตรทอง”

โดยวันนี้ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จะมาอธิบายรายละเอียดของการใช้ “สิทธิบัตรทอง” สิทธิ์ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนไทยที่ควรรู้ กันค่ะ

สิทธิบัตรทอง คือ อะไร

สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ บัตรทอง คือ สิทธิ์ตามกฎหมายของคนไทยที่ใช้ในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข และการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย ส่งเสริมด้านสุขภาพ และการป้องกันโรค ฯลฯ 

สิทธิบัตรทองนั้น ไม่เพียงแต่จะสามารถใช้ได้กับการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ยังสามารถใช้ได้กับแพทย์แผนไทย รวมไปถึงแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ตามกฎหมายการประกอบโรคศิลปะ

แนวทางการใช้งานสิทธิบัตรทอง

  • ติดต่อหน่วยบริการประจำตามสิทธิ
  • แสดงความจำนง การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ สิทธิบัตรทองแก่เจ้าหน้าที่
  • แสดงบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อเข้ารับบริการ

แนวทางการใช้งานสิทธิบัตรทอง

ผู้ที่ได้รับ สิทธิบัตรทอง คือ ใครบ้าง

หลายคนอาจมีความเข้าใจเบื้องต้นว่า สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือสิทธิบัตรทองจะคุ้มครอง ผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ  

ซึ่งหากขยายความ สิทธิบัตรทองนั้นจะครอบคลุมสิทธิ์ให้แก่ คนไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิ์การรักษาพยาบาลของข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจใด ๆ รวมไปถึงยังไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

ตัวอย่างกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิบัตรทอง

  • เด็กแรกเกิด ที่ไม่ได้มีสวัสดิการข้าราชการจากพ่อแม่ 
  • บุตรข้าราชการคนที่ 4 (เนื่องจากสิทธิ์ข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน) 
  • ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากข้าราชการ โดยไม่มีบำนาญ 
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ฯลฯ

บุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับสิทธิบัตรทอง

  • ผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม
  • ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
  • ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ

เช็กสิทธิการรักษาพยาบาลด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ได้ที่

  1. สอบถามด้วยตัวเองที่ สถานีอนามัย, โรงพยาบาลใกล้บ้าน, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, สำนักงานเขต, หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) 
  2. โทร 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก (ค่าบริการ 3 บาทต่อครั้ง) 
  3. ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.nhso.go.th 
  4. ตรวจสอบผ่าน Application สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง 
  5. LINE Official Account สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ พร้อมลงทะเบียนรับสิทธิบัตรทองผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ Application สปสช. หรือ LINE Official Account  สปสช. @nhso

สิทธิบัตรทอง คือ สิทธิในการคุ้มครองอะไรบ้าง

สิทธิบัตรทอง คือ สิทธิในการคุ้มครองอะไรบ้าง

ผู้ที่ถือสิทธิบัตรทอง จะได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านบริการสาธารณสุข โดยคุ้มจะครองบริการ ดังนี้  

  1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 
  2. การตรวจวินิจฉัยโรค
  3. การตรวจและรับฝากครรภ์
  4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์ 
  5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 
  6. การทำคลอด 
  7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ 
  8. การบริบาลทารกแรกเกิด 
  9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย 
  10. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ 
  11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 
  12. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ 
  13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม 
  14. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด 
  15. การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการประสบภัยจากรถยนต์ 
  16. การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน 

สิทธิบัตรทอง คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทุกโรคจริงหรือ

‘30 บาท รักษาทุกโรค’ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคยอดฮิตคำนี้มาอย่างยาวนาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ก็สามารถครอบคลุมเกือบทุกโรคตามที่ได้กล่าวมา แต่อาจมีบางประเภทของการรักษาพยาบาลที่ทางสิทธิประกันสุขภาพไม่ได้ให้การรับรอง โดยสิทธิบัตรทองไม่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ดังนี้

สิทธิบัตรทอง ไม่คุ้มครองการรักษาพยาบาลใดบ้าง

  • การรักษาหรือการวินิจฉัยที่เกินกว่าความจำเป็นตามที่แพทย์วินิจฉัย
  • ศัลยกรรมความงามเพื่อความสวยงาม
  • การรักษาที่อยู่ในขั้นตอนของการทดลอง
  • การปลูกถ่ายอวัยวะบางรายการที่ทางสิทธิประกันสุขภาพไม่ได้กำหนด
  • บริการทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ สปสช. กำหนด

ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ร่วมเป็นหน่วยบริการ สปสช. ให้บริการผู้มีสิทธิบัตรทอง รับยาได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย ครอบคลุม 16 กลุ่มอาการ ดังนี้

  1. มีไข้
  2. ไอ เช่น ไอตอนกลางคืน
  3. เจ็บคอ
  4. ปวดหัว เช่น ปวดหัวข้างขวา
  5. เวียนหัว
  6. ปวดท้อง
  7. ท้องเสีย
  8. ท้องผูก
  9. ปัสสาวะลำบาก อย่างอาการ ปัสสาวะแสบขัด หรือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  10. ตกขาวผิดปกติ เช่น อาการตกขาวสีเหลือง
  11. ปวดข้อ
  12. เจ็บกล้ามเนื้อ เช่น อาการ ปวดขา ปวดหลังส่วนล่าง 
  13. มีบาดแผล
  14. อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน
  15. ความผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับตา เช่น อาการ เปลือกตาอักเสบ
  16. ความผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับหู เช่น อาการ หูอื้อ

“เจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ รับยาไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส” 

สามารถเข้ารับบริการได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 200 สาขาทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับบริการเฉพาะในเขตพื้นที่ที่ลงทะเบียนตามสิทธิ์ไว้เท่านั้น แต่สามารถเข้ารับบริการได้ที่ร้านยาทุกร้านที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการ สปสช. โดยสังเกตสัญลักษณ์ ‘ร้านยาคุณภาพของฉัน’ ที่หน้าร้านยา

ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิบัตรทองเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3jCkz8I หรือสายด่วนสปสช. 1330  

ที่มา ราชกิจจานุเบกษา, สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม สปสช. , ข่าวประชาสัมพันธ์ สปสช

สามารถขอสิทธิบัตรทองได้ที่ไหน

สำหรับสิทธิบัตรทองเป็นบัตรที่ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพอื่น ๆ ควรได้รับ เนื่องจากจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการช่วยครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่าง ๆ หากใครที่ยังไม่มีบัตรทองก็สามารถเข้ายื่นขอดำเนินการรับสิทธิบัตรทองได้ที่ศูนย์บริการสารธารณสุขภายในกรุงเทพฯ หรือสถานที่ที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดสามารถขอดำเนินการรับสิทธิบัตรทองได้ที่โรงพยาบาลของภาครัฐ และสถานีอนามัยใกล้บ้าน

เอกสารยื่นขอสิทธิบัตรทอง

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาสูติบัตร หรือสำเนาใบเกิด กรณีเด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปี
  • สำเนาทะเบียนบ้าน

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

Website: https://exta.co.th/

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus

Instagram: instagram.com/extaplus 

YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty

สรุปเรื่องการเช็กสิทธิบัตรทอง

ทั้งนี้ เอ็กซ์ต้า แนะนำว่าทุกคนควรเช็กสิทธิบัตรทองของตนเอง เพราะสิทธิบัตรทองถือเป็นเรื่องขั้นพื้นฐานที่ผู้ครอบครองหรือผู้ถือบัตรควรทราบ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ของตัวเองให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ ผ่านแอป ALL PharmaSee ปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก