ผื่นแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมวิธีสังเกตและการดูแลผื่น

ผื่น แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีสังเกต และการดูแล

ผื่น อาการผิดปกติทางผิวหนัง ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อ และปัจจัยอื่นทางภายนอกได้ เช่น การเปลี่ยนเเปลงของอากาศ, สารเคมีในผลิตภัณฑ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปลักษณะอาการดังกล่าว จะสามารถเกิดขึ้นได้หลายประการ เริ่มตั้งแต่อาการคัน แสบร้อ ไปจนถึงการติดเชื้อแบบเรื้อรั โดยสำหรับใครที่กำลังรู้สึกสงสั ว่าผื่นแต่ละชนิ จะสามารถบ่งบอกถึงสัญญาณเตือนของโรคภัยต่าอย่างไรได้บ้าง

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดีเกี่ยวกับ ผื่นแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตและการดูแลผื่น มาฝากกัน 

 

ทำความรู้จักกับผื่น 

ผื่น เป็นอาการผิดปกติทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตามทั่วร่างกาย เช่น ผิวหนังติดเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, แพ้สารก่อกระตุ้น, สารเคมีในผลิตภัณฑ์ หรือมลพิษจากสภาพอากาศ เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการบวมบริเวณผิวหนัง และเริ่มรู้สึกระคายเคือง ปวดแสบ คัน ซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลอักเสบบริเวณกว้าง โดยในบางรายมักจะหายได้เอง หรือต้องทำการรักษาด้วยเทคนิคทางการแพทย์เพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น

 

สาเหตุของการเกิดผื่นริเวณผิวหนัง 

สาเหตุของการเกิด “ผื่น” บริเวณผิวหนัง

 

อาการของผื่น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้จากสารก่อกระตุ้น, ผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือการติดเชื้อไวรัส และบคทีเรีย ซึ่งปัจจัยที่พบได้บ่อยที่สุด จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

ประเภทที่ 1 พบได้บ่อยในคนทั่วไป 

  • การแพ้ยา (Drug Allergy) ยาบางชนิดอาจส่งผลให้มีผื่นขึ้นบนผิวหนังบริเวณต่าง ๆ โดยอาจเกิดจากการแพ้ยา หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา  
  • ลมพิษ (Urticaria) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยมีลักษณะเป็นตุ่มแดงนูน และคันบริเวณผิวหนังส่วนต่าง ๆ แต่จะหายได้เอง 
  • แมลงสัตว์กัดต่อย (Insect Bites) โดยเฉพาะเห็บ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดผื่นแล้วยังเป็นพาหะส่งผ่านโรคได้ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, โรคไข้เห็บ ฯลฯ 
  • โรคผิวหนังอักเสบ (Allergic Eczema) และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) มักพบในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด โดยจะก่อให้เกิดตุ่มแดง คัน และมีผิวลอกเป็นขุย 
  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) หนึ่งในโรคผิวหนังที่ก่อให้เกิดอาการคัน ผิวลอก และมีตุ่มแดง โดยมักเกิดขึ้นบริเวณหนังศีรษะ ข้อศอก และข้อต่อต่าง ๆ 
  • โรคภูมิแพ้ตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus) คือ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดผื่นได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณแก้มและจมูก หรือผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดดบ่อย ๆ 

 

ประเภทที่ 2 พบมากในเด็ก 

สาเหตุของผื่น ที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก

 

  • ผื่นผ้าอ้อม (Diaper Rash) เป็นผลจากการใส่ผ้าอ้อมที่เปื้อนปัสสาวะ หรืออุจจาระเป็นเวลานาน หรืออาจเกิดจากสารบางชนิดในผ้าอ้อม ทำให้เกิดการระคายเคือง 
  • โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) ก่อให้เกิดผื่นแดงและตุ่มน้ำใส ๆ ทั่วร่างกาย 
  • โรคหัด (Measles) โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดตุ่มแดงคันทั่วร่างกาย 
  • ไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) ทำให้เกิดผื่นแดงเป็นปื้น ลักษณะหยาบคล้ายกระดาษทรายบนผิวหนังได้ 
  • โรคมือเท้าปาก (HFMD) เป็นอาการติดเชื้อไวรัสที่พบในเด็ก ก่อให้เกิดผื่นบริเวณมือและเท้า รวมทั้งมีแผลภายในช่องปาก 
  • โรคฟิฟธ์ (Fifth Disease) โรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ เป็นปื้นแดงบริเวณแก้ม ต้นแขน และขา 
  • โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) เป็นโรคที่พบได้น้อยแต่อาการค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้เกิดผื่นและมีไข้ นอกจากนี้ หากอาการรุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อนอย่างหลอดเลือดหัวใจโป่งพองได้อีกด้วย 
  • โรคแผลพุพอง (Impetigo) คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้มีผื่นแดงตกสะเก็ด เป็นหนองบริเวณใบหน้า ลำคอ และมือ 

 

ผื่นแต่ละชนิด มีลักษณะอาการ และความแตกต่างอย่างไร

ลักษณะของผื่นแต่ละชนิด จะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคต่าง ซึ่งจะยกตัวอย่างอาการ ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยหลักได้ดังนี้ 

 

ชื่อโรค   สาเหตุ  อาการ  ลักษณะผื่น 
เห็บหมัดกัด
(Fleabites) 
ถูกแมลงกัด และดูดเลือด  จะเริ่มรู้สึกคัน และระคายเคืองผิวบริเวณที่ถูกแมลงกัด  บางรายอาจเป็นลมพิษ หรือมีตุ่มเล็ก ๆ สีแดง บนผิวหนัง 
โรคฟิฟธ์
(Fifth Disease)  
ติดเชื้อไวรัส Parvovirus B19 ทางอากาศ  ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ท้องเสีย คลื่นไส้  มีผื่นแดงขึ้นบริเวณแก้มสองข้าง  

โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Rosacea) 

 

เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน  มีอาการแสบคัน และ ผิวหนังนูนหนา บางรายอาจมีอาการตาแดง ตาแห้งร่วมด้วย  เกิดตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และสามารถเห็นเส้นเลือดฝอยได้ชัด 
แผลพุพอง
(Impetigo) 
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง    ระยะแรกจะมีผื่น หรือแผลสีแดงรอบจมูก และผิวหนัง จากนั้นจะเริ่มมีอาการคันมากขึ้น  จะเป็นตุ่มนูนแดง แผลพุพอง บริเวณปาก คาง และจมูก 
กลาก
(Ringworm) 
ติดเชื้อราบนผิวหนัง  ผิวหนังมีการอักเสบ และรู้สึกคันมาก    มีวงกลมขอบแดงเป็นขุยบริเวณผิวหนัง สามารถขยายขนาดได้  
โรคติดต่อทางผิวหนัง
(Contact Dermatitis) 
ผิวหนังสัมผัสกับสารเคมี หรือมีอาการของโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย  รู้สึกคัน ผิวบวมแดงหรือหนาขึ้น  ผิวแห้ง เป็นสะเก็ด มีขุย 

หรือเกิดตุ่มนูนเเดง 

โรคผื่นแพ้อักเสบ
(Allergic Eczema) 
แพ้สารก่อการระคายเคืองในผลิตภัณฑ์  หายใจลำบาก ไอ แสบตา น้ำมูกไหล ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง  เกิดผื่นแดงอักเสบ ลักษณะวงกลม ผิวแห้ง รู้สึกแสบร้อน 
ผื่นแพ้อากาศ
 
สารก่อภูมิแพ้ และมลพิษทางอากาศ  ไอ จาม น้ำมูกไหล และมีอาการตาแดงเกิดขึ้น  มีตุ่มนูนขึ้นบริเวณผิว หนัง และเกิดผื่นแดงเป็นปื้น ๆ  
โรคมือเท้าปากเปื่อย
(HFMD)
 
ติดเชื้อไวรัส Enterovirus  มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ และเกิดแผลพุพอง  ตุ่มใส มีแผลร้อนในปาก รวมถึงผื่นแดงขนาดเล็กที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า หรือก้น 

ผื่นผ้าอ้อม
(Diaper Rash) 

 

เกิดจากการเสียดสีและความอับชื้น ระหว่างผิวหนัง กับผ้าอ้อม   รู้สึกคัน และอักเสบบริเวณผิวสัมผัส  เป็นปื้น ๆ เห็บขอบของผื่นชัดเจน 
โรคหิด
(Scabies) 
ติดเชื้อไร Sarcoptes Scabiei   ผิวหนังเกิดการระคายเคือง และรู้สึกคัน  เกิดตุ่มแดงคัน และมีผื่นกระจายไปทั่วร่างกาย พบได้บ่อยคือ ง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับแขน 

โรคหัด
(Measles) 

ติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Rubeola Virus  ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล ตาแดง เจ็บคอ และมีจุดสีขาวภายในปาก 

 

ช่วงแรกจะเป็นสีแดง ต่อมาจะกลายเป็นสีคล้ำอยู่รวมกันเป็นปื้น 

แพ้ยา
(Drug Allergy) 

 

ร่างกายเกิดปฏิกิริยาการแพ้สารเคมีในตัวยา ซึ่งส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน  มีผื่นแดงคัน บางรายอาจเกิดลมพิษ และหัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก  เกิดจุดสีม่วงหรือสีแดงเล็ก ๆ บนผิวหนัง 

ตารางเปรียบเทียบลักษณะอาการ และความแตกต่างของผื่นแต่ละชนิด
ขอบคุณข้อมูลจาก Healthline 

 

วิธีการดูแลรักษา และป้องกัน “ผื่น” เบื้องต้น

วิธีการดูแลรักษา และป้องกัน “ผื่น” เบื้องต้น

 

การรักษาส่วนใหญ่ มักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุปัจจัยต่าง โดยจะมีวิธีการดูแลรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น ดังนี้ 

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด และครีมบำรุงสูตรอ่อนโยน ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์
    เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว 
  • ทาครีมที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)  หรือไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ในบริเวณที่มีผื่น เพื่อบรรเทาอาการคันให้ดีขึ้น หรือเลือกใช้โลชันคาลาไมน์ (Calamine Lotion) ก็จะช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนังได้ดี 
  • ใช้ยาทาภายนอก หรือ รับประทานยาในกลุ่มปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสบ และรอยแดง ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ 
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี ป้องการอับชื้น 
  • หยุดใช้เครื่องสําอาง หรือผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง 
  • ไม่เกาผื่น เพราะการทําเช่นนั้นจะทําให้อาการแย่ลง และอาจนําไปสู่การติดเชื้อได้  
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจก่อให้เกิดการกระตุ้น ทำให้เกิดผื่น เช่น ละอองเกสร, ฝุ่น, ยา หรืออาหารที่แพ้ เป็นต้น

 

อาการร่วมของผื่นแบบไหน ที่ควรพบแพทย์โดยด่วน

อาการร่วมของผื่น แบบไหน ที่ควรพบแพทย์

 

หากมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากผื่นที่เกิดขึ้น ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน เช่น  

  1. มีอาการปวด และมีการเปลี่ยนสีบริเวณผื่น 
  2. ปวดศีรษะ หรือ รู้สึกคันในลำคอ 
  3. ปวดตามข้อ 
  4. มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส  
  5. หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจลำบาก 
  6. อาการบวมของใบหน้า หรือ แขนขา 
  7. อาเจียน หรือ ท้องเสีย ฯลฯ 

หมายเหตุ: หากร่างกายมีอาการเกิดผื่นแพ้เป็นประจำ หรือมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม 

ทั้งนี้ อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน ถือเป็นหนึ่งใน 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถเข้ารับยาได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่ม สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 200 สาขา ทั่วประเทศ 

 

ที่มา: 

โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย (Rosacea) จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  

โรคมือเท้าปาก โรคระบาดในเด็กที่ต้องระวัง จาก รามา แชนเนล  

Everything You Need to Know About Rashes จาก Healthline  

Rash จาก Pennmedicine  

Skin Rash จาก Cleveland Clinic  

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก