เรียกให้ถูกยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ

ยาแก้อักเสบ ไม่ใช่ปฏิชีวนะ

หนึ่งในความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับยาที่หลายคนอาจยังไม่ทราบนั่นคือ ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ (ที่เรามักจะคุ้นเคยในยารูปแบบแคปซูลสีฟ้า-เขียว) ซึ่งไม่ใช่ยาตัวเดียวกันกับ ยาแก้อักเสบ แต่ในปัจจุบันนั้น หากเข้าไปในกระทู้ถาม-ตอบ รวมถึงหลายคนไปซื้อยาที่ร้าน มักจะเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบอยู่บ่อยครั้ง บทความนี้ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก และเรียกให้ถูก เมื่อยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ และ “อาการแบบนี้ต้องใช้ยาอะไร” กันค่ะ 

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างยาปฏิชีวนะ และ ยาแก้อักเสบ

เหตุผลที่เกิดข้อเข้าใจผิดระหว่างยา 2 ชนิดนี้ แม้จะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่นอกจากการเรียกชื่อยาผิด ๆ แบบปากต่อปากแล้ว ในมุมมองของผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ แล้วเข้าใจผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่ได้ทราบว่าอาการที่ตนเองเป็นอยู่นั้น เกิดจากสาเหตุอะไรอย่างแน่ชัด ซึ่งหากว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การทานยาฆ่าเชื้อเข้าไปจะสามารถช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ให้หายได้ 

และเมื่อผู้ป่วยมีความเข้าใจผิด ว่าอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่คืออาการอักเสบทั่วไป เมื่อเภสัชกรทำการจ่าย ‘ยาฆ่าเชื้อ’ ให้ แล้วผู้ป่วยอาการดีขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่า ยาที่ทานเข้าไป คือ ‘ยาแก้อักเสบ’ นั่นเอง เห็นได้ว่าอาการเจ็บป่วย แม้จะเป็นเพียงอาการเจ็บคอซึ่งอาจถือว่าเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่กระนั้นเราควรทำความรู้จักเรื่องยายาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อไว้เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดที่จะเกิดขึ้นในการสั่งยาครั้งถัด ๆ ไป

 

 

ยาปฏิชีวนะ ที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ

 

ทำความรู้จักกับ ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ

ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic) คือ กลุ่มยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ หรือยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ซึ่งยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการแก้ปวดหรือแก้อาการอักเสบ 

การทำงานของยาฆ่าเชื้อนั้นจะใช้รักษาในกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะแสบขัดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น

ตัวอย่างยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ ได้แก่

  • แอมพิซิลลิน (Ampicillin) 
  • อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) 
  • ออกเมนติน (Augmentin)

ข้อบ่งชี้ และวิธีการใช้ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะ ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์เท่านั้น เนื่องจากการใช้ยาในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่แน่ชัดว่าสาเหตุของอาการป่วยที่เป็นอยู่นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  วิธีการทานยาฆ่าเชื้อ ควรรับประทานหลังอาหาร เพื่อป้องกันการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร และควรทานต่อเนื่องจนหมด เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา

 

ความเข้าใจผิดระหว่างยาปฏิชีวนะกับ ยาแก้อักเสบ

 

ข้อควรระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะ

ควรใช้ยาฆ่าเชื้อภายใต้คำสั่ง และคำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดทานยาเองเนื่องจากอาจทำให้กลับมาป่วยซ้ำได้อีก หรืออาจส่งผลเสียต่อการรักษาในอนาคตได้ และไม่ควรทานยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ เพราะอาจกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์ และเกิดการดื้อยาตามมาได้ด้วยเช่นกัน  

อ่านรายละเอียดบทความ “ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ยาฆ่าเชื้อ” ได้ที่นี่

ทำความรู้จักกับ “ยาแก้อักเสบ

ยาแก้อักเสบ (Anti-inflammatory Drugs) เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการลดอาการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาอาการปวด เช่น การปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ ฯลฯ  

แต่อย่างไรก็ตาม ยาแก้อักเสบไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ดังนั้น ยาแก้อักเสบจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ในกรณีที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การปวดหลังจากการยกของหนัก การปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น

ตัวอย่างยาในกลุ่มยาแก้อักเสบ

  • แอสไพริน (Aspirin) 
  • ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) 
  • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

ข้อบ่งชี้ และวิธีใช้ ยาแก้อักเสบ

ยาแก้อักเสบจะใช้เมื่อมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ของการอักเสบ รับประทานหลังอาหารทันที เพื่อป้องกันการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร 

ข้อควรระวังในการใช้ ยาแก้อักเสบ

  • อาจเกิดอาการระคายเคืองในลำไส้หรือกระเพาะ  
  • อาจเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร 
  • มีอาการหายใจลำบาก หายใจติดขัด 
  • ไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์ใช้ยา 

หากมีอาการดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

คำแนะนำการใช้ยาแก้อักเสบ

  • ทานยาแก้อักเสบให้ตรงตามจุดประสงค์ ยาแต่ละชนิดอาจมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน ก่อนรับประทานจึงต้องรู้ถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ยาเป็นหลัก เช่น หากมีภาวะอักเสบอื่น ๆ ควรรับประทานยาแก้อักเสบมากกว่าพาราเซตามอล เนื่องจากพาราเซตามอลไม่ได้ออกฤทธิ์ในการต้านอาการอักเสบ แต่จะช่วยในเรื่องบรรเทาอาการปวด 
  • ปรึกษาเภสัชกรก่อนรับประทานยาแก้อักเสบ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว ก่อนรับประทานยาแก้อักเสบควรปรึกษาเภสัชกรและแพทย์อย่างละเอียด เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบข้างเคียงในระหว่างการใช้ยา
  • สตรีมีครรภ์และเด็กควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาแก้อักเสบ สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร สตรีมีครรภ์ หรือคุณแม่ให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาแก้อักเสบ เนื่องจากยาแก้อักเสบประเภทที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปหรือแพทย์สั่งจ่ายอาจส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน เพราะอาจส่งผลเสียต่อตับและสมอง รวมทั้งยังส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้
  • รับประทานยาแก้อักเสบในปริมาณที่เหมาะสม การรับประทานยาแก้อักเสบตามคำแนะนำของเภสัชกรและแพทย์จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น เพราะการใช้ยาแก้อักเสบในปริมาณที่มากและเป็นระยะเวลานานจะถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลข้างเคียงได้
  • อ่านฉลากยาแก้อักเสบอย่างละเอียด ยาบางชนิดมีส่วนผสมของตัวยาหลากหลายประเภท การอ่านฉลากยาอย่างละเอียดจะช่วยให้ผู้รับประทานทราบถึงส่วนผสมในตัวยา เพราะยางบางชนิดมีส่วนผสมของยาหลายตัว ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงได้มากยิ่งขึ้น
  • ติดตามอาการหลังทานยาแก้อักเสบ หลังจากที่รับประทานยาแก้อักเสบแล้ว ควรติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หากพบถึงความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ในทันที
  • เก็บยาแก้อักเสบอย่างเหมาะสม ไม่ควรเก็บยาแก้อักเสบไว้ในบริเวณที่มีความชื้น เช่น ตู้ยาภายในห้องน้ำ อาจทำให้ประสิทธิภาพของตัวยาลดลงก่อนวันอายุ เนื่องจากภายในห้องน้ำมีสภาพอากาศที่อบอ้าว ควรเก็บยาแก้อักเสบภายในอุณหภูมิห้องที่แห้งและมีความเย็น

ผลข้างเคียงของยาแก้อักเสบ

ยาแก้อักเสบอาจมีคุณสมบัติช่วยลดอาการเจ็บปวด ลดไข้ และบรรเทาภาวะอักเสบลงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมาพร้อมกับอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ โดยผลข้างเคียงจากการรับประทานยาแก้อักเสบที่พบได้บ่อย เช่น คลื่นไส้ ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัว เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ปวดท้อง ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น หากพบถึงอาการหายใจลำบาก อาเจียนเป็นเลือด มีอุจจาระสีดำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง แน่นหน้าอก หรือพูดไม่ชัด ในระหว่างที่รับประทานยาแก้อักเสบ ควรรีบหยุดยาและไปพบแพทย์ในทันที

ควรรับประทานยาแก้อักเสบกี่วัน

สำหรับผู้ที่ป่วยมีไข้ ไม่ควรรับประทานยาแก้อักเสบติดต่อกัน 3 วัน และไม่ควรใช้ยาแก้อักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดเป็นเวลานานเกินกว่า 10 วัน เพราะการใช้ยาแก้อักเสบติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ส่งผลอันตรายเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ควรสอบถามวิธีการใช้ยาแก้อักเสบอย่างละเอียดจากเภสัชกรหรือแพทย์ทุกครั้ง

จะเกิดอะไรขึ้นหากเรียกยาผิด จากยาปฏิชีวนะเป็นยาแก้อักเสบ

ผลที่จะตามมาสามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี ตั้งแต่การสื่อสารที่เข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างบุคคล ไปจนถึงส่งผลกระทบต่อระบบภายในร่างกาย เพราะหากซื้อยามาทานด้วยตัวเองบ่อยครั้ง อาจทำให้เชื้อเกิดการดื้อยา เกิดโรคแทรกซ้อนจากการใช้ยา และเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ยาได้นั่นเอง  

จึงเป็นเหตุผลว่า หากเกิดอาการไม่สบาย ไม่ควรซื้อยามาทานเอง เนื่องจากจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย หากรับประทานยาที่ไม่ถูกโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มยาปฏิชีวนะที่หากทานบ่อยครั้งเกินความจำเป็น อาจก่อนให้เกิดอาการเชื้อดื้อยาตามมาได้ ดังนั้นควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือซื้อกับเภสัชกรจากร้านยาที่น่าเชื่อถือเท่านั้

สรุปความแตกต่างระหว่างยาปฏิชีวนะ และ ยาแก้อักเสบ 

จากทั้งหมดที่ได้กล่าวไปข้างต้นสามารถสรุปออกมาเป็นตารางได้ ดังนี้  

  ยาปฏิชีวนะ  

(Antibiotic) 

ยาแก้อักเสบ

(Anti-inflammatory Drugs) 

ลดอาการอักเสบ     
ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย     
ฆ่าเชื้อไวรัส     
จำเป็นต้องทานต่อเนื่องจนหมด     


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่อาจมีข้อสงสัย และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างยาปฏิชีวนะ และ
ยาแก้อักเสบ มากยิ่งขึ้น อย่าลืมแชร์บทความดี ๆ ไปให้คนที่คุณรักกันนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก