หายใจไม่อิ่ม สัญญาณเตือนภัยจากร่างกาย ที่อาจเสี่ยงเป็นได้หลายโรค

หายใจไม่อิ่ม สัญญาณเตือนภัยจากร่างกาย ที่อาจเสี่ยงเป็นได้หลายโรค

เคยเป็นกันไหม ? รู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยง่าย หายใจถี่ ๆ และเริ่มมีอาการแน่นตรงหน้าอก หรือรู้สึกอึดอัดขณะหายใจ ส่งผลให้เกิดสภาวะ “หายใจไม่อิ่ม” และไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้อย่างเต็มที่ บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ หายใจไม่อิ่ม สัญญาณเตือนภัยจากร่างกาย ที่อาจเสี่ยงเป็นได้หลายโรค มาแบ่งปันกัน 

 

ภาวะหายใจไม่อิ่ม คืออะไร 


สภาวะหายใจไม่อิ่ม คืออะไร

 

ภาวะหายใจไม่อิ่ม (Shortness of Breath) หรือศัพท์ทางการแพทย์ เรียกว่า Dyspnea” คือ อาการของผู้ป่วย ที่ไม่สามารถสูดอากาศเข้าไปในปอดได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมีลักษณะอาการหายใจเพียงช่วงลมสั้น ๆ หรือหายใจ จึงทำให้รู้สึกแน่นหน้าอก และอึดอัดขณะหายใจ ในบางรายอาจรู้สึกเจ็บ จนไม่สามารถนอนราบได้ 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ “หายใจไม่อิ่ม” มีอะไรบ้าง 

 

สัญญาณแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญภาวะ ”หายใจไม่อิ่ม”

 

สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการ “หายใจไม่อิ่ม” มักจะเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่เคร่งเครียด หรือหักโหมการทำกิจกรรมที่มากเกินไป ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดอาการดังกล่าวเบื้องต้นแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงสัญญาณเตือนภัยจากความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น  

  • ภาวะทางเดินหายใจ
    เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคปอดคั่นระหว่างหน้าพังผืดในปอด หลอดลมอักเสบ หรือปอดบวม 
  • ภาวะหัวใจ และหลอดเลือด
    เช่น หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 
  • โรคโลหิตจาง
    ภาวะที่ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ที่จะนําออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ 
  • มะเร็งปอด
    การเกิดขึ้นของเนื้องอก หรือเนื้อร้ายที่ส่งผลกระทบต่อการหายใจ 
  • วัณโรค
    การติดเชื้อจากไวรัส และแบคทีเรีย ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดการอาเจียน และหายใจลำบาก 
  • ความวิตกกังวล เครียด หรือความตื่นตระหนก
    สาเหตุที่อาจทําให้เกิดพฤติกรรมการหายใจอย่างรวดเร็ว หรือรู้สึกหายใจไม่ออก 
  • โรคอ้วน
    น้ําหนักที่เกินมาตรฐาน อาจสามารถสร้างแรงกดต่อปอด และทําให้หายใจลําบากขึ้นได้ 
  • ปฏิกิริยาการแพ้
    เช่น การแพ้สารเคมี หรืออาหารต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ 
  • มลพิษทางอากาศ
    เช่น การสูดดมของสารเคมี และควัน รวมถึงใช้ชีวิตในสภาพอากาศที่มีฝุ่นจัด เป็นต้น 

 

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญภาวะ ”หายใจไม่อิ่ม”  

  1. มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น 
  2. สูดหายใจเข้าลึก ๆ ลำบาก 
  3. รู้สึกแน่นหน้าอกขณะหายใจ 
  4. คลื่นไส้ อาเจียน 
  5. หัวใจเต้นแรง ร่างกายสั่น   
  6. เวลาหายใจมีเสียงดังฮืด ๆ 

 

การวินิจฉัยของอาการ “หายใจไม่อิ่ม” ในปัจจุบัน 

 

การวินิจฉัยของอาการ “หายใจไม่อิ่ม” ในปัจจุบัน

 

โดยทั่วไปแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยอาการ “หายใจไม่อิ่ม” หรือหายใจลำบาก จากการซักถาม และตรวจเช็กประวัติร่างกายเป็นรายบุคคล เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และหาวิธีในการรักษาที่เหมาะสม ดังนี้ 

1. การสแกนเอกซเรย์ (X-ray)

การใช้รังสีเอกซเรย์สแกนทรวงอกเพื่อประเมินสุขภาพของปอด หัวใจ และระบบร่างกายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

2. การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

เป็นการใช้เครื่องตรวจพิเศษที่จะทำการยิงลำแสง X-ray ออกมาในหลายทิศทางพร้อม กัน โดยใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลของร่างกายเพื่อสร้างออกมาเป็นภาพ 2D และ 3D ที่แสดงข้อมูลได้อย่างละเอียด 

3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography)

เป็นการตรวจเบื้องต้น และคัดกรองโรคหัวใจ ที่จะแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น

4. การตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) 

การตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้า และออกจากปอดโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Spirometer ที่สามารถช่วยระบุขอบเขตของปัญหาการหายใจของแต่ละบุคคลได้

 

การรักษาอาการภาวะ “หายใจไม่อิ่ม” มีอะไรบ้าง

ในการรักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดูสาเหตุ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะดังกล่าวของผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ เนื่องจากอาการ “หายใจไม่อิ่ม” หรือการหายใจไม่เต็มปอด มักจะเกิดได้จาก ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

 

1. ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจากการใช้ชีวิตประจำวัน 

 

ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจากการใช้ชีวิตประจำวัน

 

เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย หักโหมใช้แรงมากเกินไป มีความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้สภาพร่างกายได้เริ่มฟื้นฟู ผ่อนคลาย และมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น 

 

2. ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจากสาเหตุของโรค

 

ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจากสาเหตุของโรค

 

ไม่ว่าจะเป็น โรคหอบหืด, วัณโรค, ปอด, หัวใจ, และโรคอ้วน ฯลฯ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ จากสภาพอากาศที่ก่อให้เกิดอาการหายไม่อิ่ม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวางแผนทางการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างสะดวกได้ดีขึ้น เช่น การจัดยา การบำบัด การผ่าตัด เป็นต้น 

 

วิธีป้องกันอาการ “หายใจไม่อิ่ม”  

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  
  2. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมมากเกินไป 
  4. หากิจกรรมยามว่าง เพื่อผ่อนคลายความเครียด 
  5. งดสูบบุหรี่  
  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น ฝุ่น ควัน

 

ที่มา: 

บทความอาการหายใจลำบาก สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Shortness of Breath จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประเทศอังกฤษ  

Everything You Need to Know About Dyspnea จาก Healthline  

Dyspnea จาก Clevelandclinic 

What is dyspnea ? จาก Medicalnewstoday 

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก