วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ซึ่งเป็นหนึ่งในวันดี สำหรับใครที่ต้องการ เลิกบุหรี่ จะนับวันนี้เป็นวันที่ 1 ในการ เลิกบุหรี่ ซึ่งมีข้อมูลในปี 2564 พบว่า มีการสูบบุหรี่ลดลงในผู้ใช้แรงงาน ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

เพื่อเป็นการสนับสนุนการ เลิกบุหรี่ บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ แนวทางในการ เลิกบุหรี่ ง่ายๆ ด้วยตัวเองกันค่ะ


มีเหตุผลมากมายที่คนจะสูบบุหรี่ แต่ก็มีเหตุผลอีกมายมายเช่นกัน ที่จะทำให้คน เลิกบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นความกังวลใจในสุขภาพของผู้สูบบุหรี่และสุขภาพของคนรอบข้าง รวมถึงภาวะด้านเศรษฐกิจ

ซึ่งเราสามารถแบ่งกลุ่มคนที่ได้ผลกระทบจากบุหรี่ ดังนี้

  • ผู้สูบบุหรี่มือหนึ่ง (First Hand Smoke) คือ ผู้สูบบุหรี่ที่ดูดควันเข้าสู่ร่างกายของตัวเอง

  • ผู้สูบบุหรี่มือสอง (Second Hand Smoke) คือ ผู้ที่สูดควันจากคนที่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสสารตกค้างจากบุหรี่ตามเฟอร์นิเจอร์ และพื้นผิวต่างๆ ซึ่งผู้ที่เป็นผู้สูบบุหรี่มือสองที่พบบ่อย คือ สมาชิกเด็กในบ้าน ซึ่งมีการศึกษาที่พบว่าเด็กที่มีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ จะมีโคตินินซึ่งเป็นสารตกค้างจากการได้รับนิโคตินจากบุหรี่มากกว่าเด็กทั่วไป


นอกจากคนสูบบุหรี่จะมีอายุเฉลี่ยที่สั้นกว่าคนทั่วไปแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้แก่

  • โรคมะเร็ง โดยมะเร็งที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งปอด เนื่องจากควันบุหรี่ทำให้ปอดกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้น้อยลง รวมถึงสารก่อมะเร็งจากบุหรี่ นอกจากนี้ยังพบรายงานการเป็นมะเร็งช่องปาก มะเร็งที่ไตและกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งหน้าอกและมะเร็งที่ปากช่องคลอด รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากผู้ที่สูบบุหรี่

  • ถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบและปอดอุดกั้นเรื้อรัง

  • โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร


นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังทำให้มีบุตรได้ยากขึ้นและทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของทารกแรกเกิด แถมยังส่งผลต่อภาพลักษณ์และความสวยงาม ทำให้มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว เหงือกดำ ฟันมีคราบหินปูน และยังมีริ้วรอยก่อนวัยอีกด้วย

ในส่วนของ โรคโควิด 19 ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะรุนแรง แต่ในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะที่รุนแรงได้ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ร่วมกับผู้อื่นยังมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 เพิ่มขึ้น


ประโยชน์ของการ เลิกบุหรี่

เริ่มตั้งแต่ 20 นาทีแรกที่ทำให้การไหลเวียนเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ หลังจากนั้นร่างกายจะมีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนและลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในกระแสเลือด และภายใน 72 ชั่วโมง จะสังเกตได้ว่าหายใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการหดเกร็งของหลอดลมที่เกิดขณะสูบบุหรี่ได้หายไป หลังจากหยุดบุหรี่ได้ 3-9 เดือน อาการไอจะหายไป การทำงานของปอดดีขึ้นถึง 90% และเมื่อหยุดบุหรี่ได้ 1 ปีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงจนเท่าคนทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่


แนวทางในการ เลิกบุหรี่

  • หาเหตุผลและแรงจูงใจในการ เลิกบุหรี่ เช่น เพื่อให้ดูดีขึ้น เพื่อลูก

  • กำหนดวันที่ต้องการ เลิกบุหรี่ ให้ชัดเจน เช่น วันเกิด

  • บอกคนรอบข้างว่าตัดสินใจ เลิกบุหรี่ เพื่อให้มีคนคอยกระตุ้นและให้กำลังใจจนประสบผลสำเร็จ

  • ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสูบบุหรี่

  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ การอยู่ในสถานที่รวมถึงพฤติกรมที่กระตุ้นให้สูบบุหรี่ หากิจกรรมที่ทดแทนการสูบบุหรี่ เช่น ดำน้ำ ปีนเขา เล่นกีฬา เป็นต้น

  • ไม่ยอมแพ้ มีคนที่ต้องการ เลิกบุหรี่ เป็นจำนวนมาก กลับมาสูบซ้ำ ถ้าหากกลับมาสูบบุหรี่ให้หาสาเหตุและพยายาม เลิกบุหรี่ใหม่

  • ใช้ตัวช่วยในการ เลิกบุหรี่ เช่นหมากฝรั่งหรือแผ่นแปะทดแทนนิโคติน โดยทดแทนเมื่อต้องการสูบบุหรี่

  • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อมีคำถามหรือต้องการการช่วยเหลือในการ เลิกบุหรี่


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. หนุนผู้ใช้แรงงาน “เลิกสูบ เลิกจน” ดูแลสุขภาพ ป้องกันโควิด 19. Press Release. ศูน์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.). 14 พฤษภาคม 2564
  2. Quit Smoking. NHS.UK. Retrieved from https://www.nhs.uk/better-health/quit-smoking/
  3. WHO report on the global tobacco epidemic 2021: addressing new and emerging products. World Health Organization. 27 July 2021
  4. 13 Best Quit-Smoking Tips Ever. WebMD. 13 November 2021. Retrieved from https://www.webmd.com/smoking-cessation/ss/slideshow-13-best-quit-smoking-tips-ever

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

รู้ทัน รักษาไว ไวรัส RSV โรคติดเชื้อในเด็กเล็ก

เข้าสู่หน้าฝนแล

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

เตรียมผิวให้พร้อม ก่อน-หลัง ออกแดด

เมื่อเมืองไทยเป

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย

สารอาหารที่จำเป็นต่อผิว ป้องกันสิวจากภายใน

การ ป้องกันสิว

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

น้ำตาลในเลือดสูง อาการ สาเหตุ และการป้องกันความเสี่ยงโรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสู

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ตาพร่ามัว: สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ตาพร่ามัว หรือ

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

บาดทะยัก โรคอันตรายที่ควรระวัง เมื่อเป็นแผลต้องทำอย่างไร ?

บาดทะยัก หรือ ก

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ปวดท้องน้อยด้านซ้าย อันตรายไหม และเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ ?

ปวดท้องน้อยด้าน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก