เช็กอาการ คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

เช็กอาการคุณเสี่ยงต่อการเป็น โรคซึมเศร้า หรือไม่

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ได้ยินบ่อยขึ้นในช่วง 5 ปีให้หลังนี้ ทั้งจากข่าว จากโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ รวมถึงหลาย ๆ ท่านอาจมีคนรอบข้างพูดถึงโรคนี้บ่อยมากขึ้น บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้า ว่าคืออะไร? เกิดได้จากอะไร? และอาการแสดงเป็นอย่างไร? เพื่อที่จะสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า ตัวเองและคนรอบข้างมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็น โรคซึมเศร้า หรือไม่ รวมถึงวิธีจัดการกับโรคซึมเศร้าเบื้องต้น


โรคซึมเศร้า เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ ปัจจัยทางร่างกายที่มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความสูญเสีย การเจ็บป่วย การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมรอบข้าง การไม่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งของสารเคมีที่ช่วยควบคุมอารมณ์ในสมอง รวมถึงยาบางประเภท

 

นอกจากนี้โรคบางโรครวมถึงการคลอดลูกก็ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน ซึ่งพบว่าคุณแม่ 1 ใน 6 หลังจากคลอดประสบภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

อาการแสดงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

  • ด้านการแสดงอารมณ์ จะพบเป็นส่วนมากในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งจะมีอารมณ์ที่หดหู่ เบื่อหน่าย ขาดความสนใจในกิจกรรมต่างๆถึงแม้ว่าเป็นกิจกรรมที่เคยชอบทำ
  • ด้านร่างกาย เช่นอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป อ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร
  • ด้านความจำ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายราย มีความจำที่แย่ลง ไม่มีสมาธิ ความสามารถในการตัดสินใจลดลง

 

เช็กอาการ คุณเสี่ยงต่อการเป็น โรคซึมเศร้า หรือไม่

 

หลาย ๆ ท่านอาจจะมีคำถามว่า แล้วเราจะทราบได้อย่างไร ว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ เบื้องต้นสามารถประเมินจากการถามคำถามกับตัวเอง 2 ข้อ

คำถามประเมินโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง

  1. ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ คุณมีความรู้สึกหดหู่ เศร้า ท้อแท้ หรือสิ้นหวังหรือไม่?
  2. ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ คุณรู้สึกเบื่อ ทำกิจกรรมอะไรแล้วไม่เพลิดเพลินหรือไม่?

 

ถ้าคำตอบคือไม่มีทั้ง 2 ข้อ สามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่ายังคงเป็นปกติ ไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า แต่ถ้าตอบ มี ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้อ หมายถึงมีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ควรทำการประเมินความรุนแรงด้วยตัวเองโดยใช้แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ9 ต่อไป

 

การจัดการโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ต้องรักษาและสามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาโรคซึมเศร้าจะมีการใช้การรักษาหลายรูปแบบร่วมกันทั้งการใช้ยาและการรักษาด้านจิตใจ เมื่อมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษา โดยสามารถปรึกษาแพทย์ หรือโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

          นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสภาวะต่าง ๆ ที่กระตุ้นความเครียด หลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความหดหู่มากขึ้น หาเวลาทำกิจกรรมอื่น ๆ ให้กับตัวเองเพิ่มเติม พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 30-45 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ การบอกคนรอบข้างให้ทราบถึงภาวะโรคซึมเศร้าก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำ เพื่อหาคนที่เข้าใจและสามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟัง

          โรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป การประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเองโดยการตั้งคำถาม 2 คำถามกับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อที่จะรู้เท่าทันตัวเองและหาทางรักษาได้อย่างทันท่วงที สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือไม่ควรเก็บไว้คนเดียวหรือรักษาด้วยตัวเอง การปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก นอกจากนี้คนรอบข้างควรอยู่ข้าง ๆ และให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ

 

โรคซึมเศร้าร

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  • แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง (PHQ9). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก