ประจำเดือนไม่มา บ่งบอกสัญญาณสุขภาพของเรื่องอะไรได้บ้าง ?

ประจำเดือนไม่มา บ่งบอกสัญญาณสุขภาพของเรื่องอะไรได้บ้าง ?

ประจำเดือนไม่มา ปัญหาที่ผู้หญิงมักเคยพบเจอ ซึ่งบางครั้งอาจได้มองข้ามไปเพราะคิดว่าไม่เป็นอันตราย แต่นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาเรื่องสุขภาพที่สามารถทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับร่างกาย เช่น มดลูกอักเสบ หรือ ภาวะท้องนอกมดลูก เป็นต้น

ทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลเกี่ยวกับ ประจำเดือนไม่มา บ่งบอกสัญญาณสุขภาพของเรื่องอะไรได้บ้าง ? มาแชร์กัน

 

ประจำเดือน คืออะไร

ประจำเดือน (Menstruation) หมายถึง เลือด หรือ เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน เป็นอาการแสดงความพร้อมของร่างกายสู่การเจริญพันธุ์ โดยประจำเดือนเกิดจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทุก 21-35 วัน แต่ละรอบจะอยู่นาน 3-7 วันเพื่อเตรียมรอรับการฝังตัวของตัวอ่อน ทำให้ในแต่ละเดือนจะมีไข่ตกเดือนละ 1 ฟอง หากไม่มีการปฏิสนธิ หรือไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นกับเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมไว้รอรับตัวอ่อนก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน

 

ประจำเดือนปกติมีลักษณะอย่างไร

รอบประจำเดือนปกติ จะเริ่มนับเริ่มตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือน และไปสิ้นสุดเมื่อถึงวันแรกของการมีเลือดรอบถัดไป โดยผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะมีรอบประจำเดือนนานประมาณ 28 วัน แต่รอบปกติอาจสั้น หรือ ยาวได้ถึง 7 วัน ซึ่งอาจมีอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ เช่น ท้องอืด ตัวบวม คัดเต้านม หรือ ปวดหลัง ในบางคนมีอาการไมเกรนร่วมด้วย โดยสามารถสังเกตอาการที่มีประจำเดือนแบบปกติได้ ดังนี้

  • มีประจำเดือนทุก ๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21 – 35วัน)
  • มีประจำเดือนมาประมาณ 3 – 5 วัน และไม่ควรมาเกิน 7 วัน
  • ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่ละวันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือ เทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

 

ประจำเดือนไม่มา เป็นอย่างไร

 

ประจำเดือนไม่มา เป็นอย่างไร

 

ระยะห่างของประจำเดือนแต่ละรอบ จะอยู่ที่ 24-38 วันซึ่งหากผู้หญิงคนไหนมีระยะห่างน้อย หรือ มากกว่านี้ จะถือว่า มีลักษณะของประจำเดือนที่มาผิดปกติ หรือ ที่เรียกว่า ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) ซึ่งหมายถึง ภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือดประจำเดือนออกมาตามปกติ หรือประจำเดือนไม่มา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea)

เช่น ผู้หญิงที่อายุ 18 ปีแล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป หากอายุ 18 ปีแล้วยังไม่มีถือว่าผิดปกติ

2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea)

เช่น ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือนโดยที่ไม่มีการตั้งครรภ์

 

ประจำเดือนไม่มา สาเหตุมาจากอะไร

 

ประจำเดือนไม่มา สาเหตุมาจากอะไร

 

ประจำเดือน ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงสุขภาพในการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงทุกคน ซึ่งการที่ประจำเดือนไม่มา หรือมาแบบผิดปกติ อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไปตามร่างกาย และสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยสามารถแบ่งสาเหตุได้ ดังนี้

  • วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45 – 55 ปี เนื่องจากระดับฮอร์โมนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ หรือ ไม่ตกเลย
  • น้ำหนักเพิ่ม หรือ ลดมากเกินไป โดยสำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวน้อยจะมีไขมันน้อย ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากอาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด รักษาทางจิตเวช ยาต้านชิมเศร้า ทำเคมีบำบัด ยารักษาความดันโลหิตสูง และสารเสพติดอื่น ๆ เป็นต้น โดยในบางรายอาจเกี่ยวข้องกับการที่อวัยวะสืบพันธุ์มีความผิดปกติ เช่น เนื้องอก หรือการติดเชื้อที่มดลูก ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก เป็นต้น
  • ปัญหาไข่ไม่ตก ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียดไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือเรื่องอื่น ๆ
  • ความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานรังไข่ ที่พบบ่อย ๆ ก็คือ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมใต้สมองหรือว่าฮอร์โมนน้ำนม
  • ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังในผู้หญิง จากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือว่า Olycystic Ovary Syndrome (PCOS) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยจากการทำงานที่ผิดปกติของตัวรังไข่เอง พบได้ในผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • อาการเลือดออกที่ผิดปกติ มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น มดลูกอักเสบ ปากมดลูกอักเสบ ติ่งเนื้อปากมดลูก หรืออาจเกิดจากการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดแบบไม่สม่ำเสมอ เช่น ลืมกินยาคุมกำเนิดในบางวัน จึงอาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างรอบเดือน ทำให้บางคนเข้าใจว่ามันคือประจำเดือน ทั้งที่อาจเป็นอาการเลือดออกที่ผิดปกติ

 

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อประจำเดือนไม่มา หรือ มาแบบผิดปกติ

ผู้หญิงบางรายที่มีประจำเดือนผิดปกติ สามารถสังเกตร่างกายตัวเองได้จากอาการผิดปกติที่จะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ดังนี้

อาการผิดปกติ  ลักษณะอาการ 
รอบเดือนมาผิดปกติ  ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล หรือ ผู้หญิงบางรายใช้ยาคุมกำเนิด จึงส่งผลให้รอบเดือนขาด รังไข่ทำงานผิดปกติ สิวขึ้น อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง 
ระบบขับถ่ายผิดปกติ  รู้สึกปวดที่ท้องน้อยในขณะปัสสาวะ ท้องเสียในช่วงมีประจำเดือน 
ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการปวดหลัง   เกิดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือเนื้องอกในมดลูก 
ประจำเดือนมามากกว่า
7 วัน ขึ้นไป 
อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น มีเนื้องอกในมดลูก มดลูกอักเสบ เป็นต้น 
ปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง  สาเหตุมาจากสารโพรสตาแกลนดิน ทำให้มดลูกบีบตัวมากและยังขัดขวางการไหลเวียนของออกซิเจนในกล้ามเนื้อรอบมดลูก 
ลิ่มเลือดประจำเดือนมีขนาด
ใหญ่ผิดปกติ 
ทำให้มีอาการที่สามารถเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกในมดลูก 
มีหยดเลือดออกมาในช่วงที่
ไม่มีประจำเดือน 
อาจเป็นผลมาจากการใช้ยาคุมกำเนิด เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคไทรอยด์ หรือภาวะท้องนอกมดลูก 
ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็น
มากกว่าปกติ 
เกิดจากการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอด ทำให้มดลูกอักเสบได้  

 

ประจำเดือนไม่มา บ่งบอกสัญญาณสุขภาพของเรื่องอะไรได้บ้าง

1. เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ : Polycystic Ovarian Syndrome (PCOS) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 18-45 ปี เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนหลายตำแหน่งรวมทั้งที่รังไข่ ทำให้มีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ อาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ขนดก ฯลฯ

2. รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาจากสาเหตุนี้สามารถรักษาด้วยยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือกลุ่มยาฮอร์โมนทดแทน

 

สามารถสังเกตอาการผิดปกติของประจำเดือน ได้อย่างไร

1. ปริมาณเลือดที่ออก ตามปกติเลือดที่ออกมาจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่หากท่านใดพบว่าต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชม. ถือได้ว่าเป็นปริมาณเลือดที่ออกมาเยอะจนเกินไป และอาจมีความผิดปกติแนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนรีเวช
2. เลือดที่ออกมามีลักษณะเป็นก้อนเลือด เป็นลักษณะลิ่ม ๆ สีแดงสด แดงเข้ม แดงคล้ำ อันนี้อาจเกิดความผิดปกติเช่นกันแนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนรีเวช
3. ความสม่ำเสมอของรอบเดือน ที่ต้องมาทุก 21 – 35 วัน ไม่มาเร็วกว่า 21 วัน หรือมาช้ากว่า 35 วัน

 

วิธีการดูแลตัวเอง เมื่อพบว่าประจำเดือนไม่มา

 

 วิธีการดูแลตัวเอง เมื่อพบว่าประจำเดือนไม่มา

 

  • ลดภาวะเครียด ที่อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายให้กับร่างกาย และจิตใจ
  • เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและตามสัดส่วนที่เหมาะสม
  • รักษาน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยหมั่นตรวจเช็กค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนไม่มา หรือมาแบบไม่ปกติ โดยมีลักษณะอาการที่เปลี่ยนไปจากเดิม ควรเข้าพบสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอาการ และโรคให้ถูกต้อง เพื่อทำการรักษาต่อไป

 

สรุป

ประจำเดือน ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพในการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงทุกคน การหมั่นสังเกตอาการ เช่น การจดบันทึกรอบเดือน สังเกตสี และปริมาณของประจำเดือน จะช่วยให้สามารถตรวจสอบและเห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับของร่างกายได้ ซึ่งโดยแล้วปกติแล้ว ระยะห่างของประจำเดือนแต่ละรอบ จะอยู่ที่ 24-38 วัน หากประจำเดือนไม่มา หรือ เลยรอบที่นับได้ เพื่อความสบายใจควรเข้าพบสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอาการ และโรคที่อาจเกิดขึ้น เพราะหากประจำเดือนไม่มา อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ และโรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ไข่เสื่อมก่อนกำหนด ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ มีเนื้องอกในมดลูกเป็นต้น

 

ที่มา:

ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย จาก รามาแชนแนล Rama Channel

บันทึกรอบเดือน ดีอย่างไร? จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เตือน 8 สัญญาณร้าย ประจำเดือนผิดปกติ จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สตรีมี “ประจำเดือน” แบบไหนเรียกปกติ จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เลือดระดูหรือประจำเดือนผิดปกติ ใครว่าไม่เป็นไร จาก ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประจำเดือนมาไม่ปกติบอกอะไร ? ( Amenorrhea) จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ทำไมประจำเดือนมาไม่ปกติ ? จาก รามาแชนแนล Rama Channel

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก