คนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้ เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน กินอย่างไรให้ปลอดภัย

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pills, Morning-After Pills)

คือยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือในสถานการณ์ที่เกิดข้อผิดพลาดจากการคุมกำเนิดประเภทอื่นทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น ถุงยางอนามัยแตก ห่วงอนามัยหลุด ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดเกิน 3 วัน เป็นต้น

ยาคุมฉุกเฉินมีส่วนประกอบสำคัญคือ ฮอร์โมน levonorgestrel ในขนาดสูง ที่ช่วยยับยั้งหรือชะลอการตกไข่ในเพศหญิง จึงลดโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ยาคุมฉุกเฉินในท้องตลาดมีหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งมีความแรงต่อเม็ดแตกต่างกัน จึงทำให้มีวิธีใช้แตกต่างกัน ดังนี้

  • ชนิด 1 เม็ดต่อกล่อง มียา levonorgestrel 1.5 มิลลิกรัมต่อเม็ด รับประทาน 1 เม็ดครั้งเดียวหลังจากมีเพศสัมพันธ์ทันที หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • ชนิด 2 เม็ดต่อกล่อง มียา levonorgestrel 0.75 มิลลิกรัมต่อเม็ด รับประทาน 1 เม็ดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ทันที หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง และเม็ดที่สองรับประทานหลังจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง

ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการรับประทานยาเม็ดแรก โดยถ้ารับประทานยาหลังมีเพศสัมพันธ์ทันที จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 90% และประสิทธิภาพในการป้องกันจะลดลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถป้องกันได้ ถ้าหากทานยาเม็ดแรกช้าเกิน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์  นอกจากนี้ ความอ้วนยังส่งผลลดประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉิน โดยผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 30 จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่า 

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

อาการข้างเคียงจากการใช้ยาคุมฉุกเฉิน 

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาคุมฉุกเฉินได้แก่

คลื่นไส้ อาเจียน

ซึ่งจะพบมากขึ้นเมื่อใช้ยาคุมฉุกเฉินชนิดรับประทานเม็ดเดียว เนื่องจากยามีความแรงมาก อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่พบได้แก่ ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยมากระปริบกระปรอยหรือมามากกว่าปกติ ประจำเดือนเลื่อน ปวดท้องน้อย ปวดเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่สบายตัว ตึงเต้านม

นอกจากนี้การรับประทานยาคุมฉุกเฉินที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุมดลูก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

คำแนะนำในการใช้ยาคุมฉุกเฉินและการคุมกำเนิด 

ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เมื่อฉุกเฉิน ไม่ควรใช้เป็นประจำ หรือใช้ทดแทนยาเม็ดคุมกำเนิดเนื่องจากประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำกว่า และเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงได้มาก โดยรับประทานได้ไม่เกิน 1 ครั้ง (1 กล่อง) ต่อสัปดาห์ และไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน และใช้สำหรับผู้หญิงเท่านั้น

ถ้ามีเพศสัมพันธ์ซ้ำหลังจากใช้ยาคุมฉุกเฉินเกิน 24 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ ทั้งนี้ถ้าหากทานยาคุมฉุกเฉินซ้ำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง และลดประสิทธิภาพของยา ดังนั้นควรใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น เช่นการใช้ถุงยางอนามัยแทน

ทั้งนี้ การใช้ยาคุมฉุกเฉิน ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ต้องใช้ถุงยางอนามัยเท่านั้น

ถ้าต้องการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรับประทานเป็นประจำ สามารถเริ่มทานได้ทันทีหลังจากใช้ยาคุมฉุกเฉิน และควรใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 14 วันแรกหลังเริ่มยาเพื่อรอให้ยาเม็ดคุมกำเนิดออกฤทธิ์


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. Emergency contraception. Fact sheet, updated9 November 2021. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception
  2. Kristina Gemzell-Danielson et al., Emergency contraception – mechanisms of action.  2013 Mar;87(3):300-8. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23114735/#:~:text=The%20main%20mechanism%20of%20action,LNG%20is%20no%20longer%20effective.
  3. ดร.ภญ.นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. ความรู้ทั่วไปเรื่องยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน คลังความรู้ คณะเภสัชกศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/419/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99/

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม

รวมยาสำคัญที่ต้องมีติดบ้านไว้ ในช่วงหน้าฝน

หน้าฝนได้กลับมา

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม

ตอบทุกข้อสงสัยของการใช้ยาพาราเซตามอล

พาราเซตามอล (Pa

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย

สารอาหารที่จำเป็นต่อผิว ป้องกันสิวจากภายใน

การ ป้องกันสิว

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย

12 สิงหา พาคุณแม่สุขภาพดี ด้วยการดูแลสุขภาพแทนความห่วงใย

12 สิงหา เดือนแ

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม

ยาแก้ท้องเสีย ควรเลือกทานแบบไหน ถึงจะตรงอาการและปลอดภัย

ยาแก้ท้องเสีย ต

ยาและอาหารเสริม

วิตามินซีเม็ดฟู่ ดีกว่าแบบเม็ดจริงไหม ?

วิตามินซีแต่ละป

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม

เรียกให้ถูกยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ

ยาปฏิชีวนะ หรือ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก