อาหารเป็นพิษ โรคฮิตของนักท่องเที่ยว

อาหารเป็นพิษ โรคฮิตของนักท่องเที่ยว

อาหารเป็นพิษ หนึ่งในอาการที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงที่เดินทางท่องเที่ยว เนื่องจากการได้ทดลองทานอาหารใหม่ ๆ อาหารพื้นเมือง และการได้สัมผัสรสชาติอาหารที่แปลกใหม่ เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง ซึ่งอาหารเหล่านั้น มักทำให้นักท่องเที่ยวเกิดโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการเดินทาง (Traveler’s diarrhea) ได้


ซึ่งสาเหตุของการเกิด อาหารเป็นพิษ นั้น มักเกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหรือสารพิษทำให้เกิดอุจจาระร่วงตามมา ส่วนใหญ่แล้วจะถ่ายเป็นน้ำและมีอาการปวดท้องร่วมด้วย นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น คลื่นไส้อาเจียน ไข้ ท้องอืด เบื่ออาหาร เป็นต้น

เลือกรับประทานอาหารอย่างไร...ไม่ให้ท้องเสีย

1. การเลือกพิจารณารับประทานอาหารริมทาง

  • ที่ตั้งของร้านอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมฟุตบาท ทำให้มีความเสี่ยงมาก จากการปนเปื้อนของฝุ่นหรือควันพิษจากท่อไอเสียของยานพาหนะ โดยเฉพาะเมื่อตั้งอยู่ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น หากจำเป็นต้องรับประทานอาหารริมฟุตบาท ควรเลือกร้านที่มีอากาศถ่ายเท หรืออยู่ไกลออกจากฟุตบาท และไม่มียานพาหนะพ่นควันจากท่อไอเสียตลอดเวลา นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงร้านที่ตั้งอยู่ใกล้ท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งของพาหะนำโรคอย่างหนู แมลงสาบ ในบริเวณใกล้เคียง
  • สังเกตความสะอาด เช่น ตู้วัตถุดิบสำหรับประกอบอาหาร บริเวณที่ล้างถ้วยชาม ความสะอาดของโต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องปรุง
  • ควรเลือกร้านอาหารที่ปรุงสุกใหม่ มากกว่าร้านปรุงสุกไว้พร้อมเสิร์ฟ เพราะอาหารเหล่านั้นอาจปรุงสุกไว้นานแล้ว หรืออาจเป็นอาหารค้างมื้อ/ค้างคืนที่นำมาอุ่นซ้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค ที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสียตามมาได้

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

2. เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อนทั่วถึง 

  • หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีการลวก หรือพล่าสุก ๆ ดิบ ๆ อย่างไรก็ตาม อาหารที่ทิ้งไว้นาน ๆ หลังปรุงสุก มักเป็นสาเหตุของอาหารท้องเสียได้ง่าย เช่น อาหารทะเล อาหารหรือขนมที่มีกะทิ ขนมจีน ข้าวมันไก่ น้ำแข็ง สลัดผัก

3. หลีกเลี่ยงการรับประทานผักผลไม้สด

หากเป็นผักผลไม้สดที่มีเปลือกหุ้ม ให้มั่นใจก่อนว่าผักผลไม้เหล่านั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ก่อนที่จะนำมารับประทาน

4. ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกครั้ง

หากไม่สะดวกล้างมือควรพกพาสเปรย์ หรือแอลกอฮอล์ เพื่อใช้ทำความสะอาดทดแทนการล้างมือ

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อท้องเสียระหว่างการท่องเที่ยว

          โรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการเดินทาง (Traveler’s diarrhea) อาจดีขึ้นได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ในระหว่างที่กำลังสังเกตอาการอยู่นั้น สามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นก่อนได้ เช่น เมื่อมีการถ่ายเหลวและ/หรืออาเจียน ให้จิบน้ำผสมเกลือแร่ (Oral rehydration solution, ORS) หรือหากมีไข้ สามารถรับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล สำหรับคำแนะนำเพิ่มเติมเมื่อมีอาการถ่ายเหลวระหว่างการเดินทาง

          มีข้อแนะนำ ดังนี้

  • รับประทานอาหารอาหารอ่อน ย่อยง่าย เพื่อลดการทำงานของลำไส้
  • ในเบื้องต้นการใช้ Bismuth subsalicylates ขนาด 30 มิลลิลิตร ทุก 30 นาที รวม 8 ครั้ง สำหรับลดจำนวนการถ่ายเหลวโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันได้ในนักท่องเที่ยว
  • การใช้โปรไบโอติกส์ กลุ่มแซคาโรไมซิส (Saccharomyces boulardii; S. boulardii) ลดระยะเวลา และความรุนแรงของอาการท้องเสียได้ นอกจากนี้ การรับประทาน S.boulardii ล่วงหน้าก่อนการเดินทาง 5 วัน จะช่วยป้องกันปัญหาท้องเสียระหว่างเดินทางได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยาเพื่อให้ได้รับยาอย่างสมเหตุสมผล หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ให้ไปพบแพทย์

อาหารเป็นพิษ โรคฮิตของนักท่องเที่ยว

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยา หรืออาการภูมิแพ้ สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ฝุ่น PM2.5 มลภาวะตัวร้าย ทำภูมิแพ้กำเริบ

หน้าหนาวมาเยือน

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ผื่นแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมวิธีสังเกตและการดูแลผื่น

“ผื่น” อาการผิด

สุขภาพแต่ละช่วงวัย

อาการหวัดกับ ภูมิแพ้ ต่างกันอย่างไร ?

อาการหวัดและ ภู

Uncategorized ความรู้ด้านสุขภาพ อารมณ์และจิตใจ

ผื่นแพ้อากาศ อาการ และวิธีป้องกันตัวเองอย่างไร ไม่ให้เป็นหนัก

ผื่นแพ้อากาศ อา

สุขภาพแต่ละช่วงวัย

รับมือ ผื่นแพ้ยุงในเด็ก

ประเทศไทยเป็นเม

ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย

สารก่อภูมิแพ้ …ที่แท้ก็มีในบ้าน

มีผู้ป่วยหลายคน

ยาและอาหารเสริม โภชนาการ

อาหารต้านหวัด

เมื่อย่างเข้าสู

สุขภาพแต่ละช่วงวัย

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย นี่ฉันเป็นหวัดหรือว่า ภูมิแพ้

โรคหวัดและ ภูมิ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก