กินดี ชีวีมีสุข

กินดี

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่พื้นฐาน ตามปกติแล้วการ กินดี คือการที่ร่างกายคนเราควรได้รับสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อทำให้ร่างกายมีพลังงานอย่างเพียงพอ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อความเจ็บป่วยต่าง ๆ โดยอาหาร 5 หมู่นั้นได้แก่

หมู่ 1 โปรตีน ( เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ) ให้พลังงาน เสริมสร้างให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

หมู่ 2 คาร์โบไฮเดรต ( ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน ) ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

หมู่ 3 เกลือแร่หรือแร่ธาตุ ( พืชผัก ) ทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ

หมู่ 4 วิตามิน ( ผลไม้ )  บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคต่างๆ และทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ

หมู่ 5 ไขมัน ( ไขมันจากพืชและสัตว์) ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย


ซึ่งการ กินดี นอกจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังมีคำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติมในการรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

  • ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้รวมไปถึง ถั่วและธัญพืช ควรที่จะเติมเต็มจานด้วนสัดส่วนกว่าครึ่ง   ด้วยผักที่มีสีสันสดใสเช่นมะเขือเทศ กะหล่ำปลีม่วง เป็นต้น ซึ่งผักผลไม้หลากสีจะอุดมไปด้วยไฟโตเคมิคอลซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้หลายชนิด แต่ในการเลือกผักผลไม้ควรเลือกที่ปลอดสารพิษ และล้างให้สะอาดก่อนบริโภค เพื่อจะได้รับประโยชน์จากอาหารอย่างสูงสุด

  • ควรรับประทานแต่พอดี ไม่ตามใจปากจนเกินไป เพื่อรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งหลายชนิด จากงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆพบความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งกับโรคอ้วน กล่าวคือผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งทางเดินปัสสาวะ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งที่ไต มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ เป็นต้น ดังนั้นควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระหว่างค่า BMI 18.5-24 ซึ่งเป็นค่าปกติที่แนะนำในประชากรไทย

  • ควรจำกัดการรับประทานอาหารแปรรูป(Processed food) และเนื้อแดง(Red meat) อาหารแปรรูปคืออาหารที่ถูกผ่านกระบวนการเพื่อถนอมอาหารโดยวิธีการต่างๆ เช่น การบ่ม การรมควัน การอบแห้ง และการอัดกระป๋อง ยกตัวอย่างอาหารแปรรูปเช่น ลูกชื้น ใส้กรอก แฮม เบคอน เป็นต้น ส่วน เนื้อแดงหมายถึงเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เป็นต้น


ในปี 2015, องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ The International Agency for Research on Cancer (IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีข้อสรุปว่า การรับประทานเนื้อแดงและอาหารแปรรูปจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำใส้ได้ ดังนั้นควรจำกัดการรับประทานเนือ้แดงไม่เกินสัปดาห์ละ 500 กรัม หรือไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และรับประทานอาหารแปรรูปให้น้อยที่สุด โดยใช้เนื้อปลา สัตว์ปีก โปรตีนจากพืชให้พลังงานทดแทน


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง การ กินดี หรือเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • Oncologynutrition.org. 2022. Foods. [online] Available at: <https://www.oncologynutrition.org/on/erfc/healthy-nutrition-now/foods> [Accessed 18 October 2022].
  • Lee, S., 2022. Limit red and processed meat. [online] Canadian Cancer Society. Available at: <https://www.cancer.ca/en/prevention-and-screening/reduce-cancer-risk/make-healthy-choices/eat-well/limit-red-meat-and-avoid-processed-meat/?region=bc> [Accessed 18 October 2022].
  • 2022. [online] Available at: <http://www.bknowledge.org/link/page/health/files/32.html> [Accessed 18 October 2022].
  • Cancer.org. 2022. American Cancer Society Guideline for Diet and Physical Activity for Cancer Prevention. [online] Available at: <https://www.cancer.org/healthy/eat-healthy-get-active/acs-guidelines-nutrition-physical-activity-cancer-prevention.html> [Accessed 18 October 2022].

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง หลายคนเมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางไปเที่ยว มักจะลืมของสำคัญ หรือ ไอเทมจำเป็น ที่ต้องใช้ในการเดินทางซึ่งอาจทำให้การไปทริปในแต่ละครั้งรู้สึกติดขัด หรือ ไม่สนุกสนานเท่าที่ควรหยุดยาวนี้ให้คุณได้ท่องเที่ยวอย่างอุ่นใจ บทความนี้ เอ็กซ์ต้า พลัส ได้รวบรวมสิ่งของที่จำเป็นเมื่อต้องเดินทางไปเที่ยว ว่าในแต่ละภาคต้อง เตรียมอะไรไปบ้างมาฝากทุกคนกันค่ะ

ข้อสงสัยโควิด

สิ่งที่ควรทำและควรหลีกเลี่ยง เมื่อเป็น Long COVID

Long COVID อาการที่ยังคงหลงเหลือไว้ แม้จะหายป่วย แต่ไม่หายไป ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต หรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ จึงควรดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี่ฉันติดโควิดหรือยังนะ จริงอยู่ที่ อาการไอ เป็นหนึ่งในอาการแสดงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 หรือโควิด 19 แต่!

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid ลองโควิด (Long Covid) คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 –

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระลึกไว้เสมอ ก่อนจะไปร่วมแข่งขันวิ่งมาราธอน คือ เราต้องรู้ก่อนว่าร่างกายของเราพร้อมหรือ มีความฟิตพอที่จะวิ่งมาราธอนได้หรือไม่ และคำนึงถึงความปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับมาตรการหลักเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ร่วมกิจกรรมต้องได้รับการตรวจหาเชื้อ (Covid-19) แบบ ATK พร้อมแสดงผลตรวจไม่เกิน 72 ชั่วโมงนะคะ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ซึ่งเป็นหนึ่งในวันดี สำหรับใครที่ต้องการ เลิกบุหรี่ จะนับวันนี้เป็นวันที่ 1 ในการ เลิกบุหรี่ ซึ่งมีข้อมูลในปี 2564 พบว่า

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

โควิด-19 ยังคงระบาด อย่านิ่งนอนใจ สงสัยเมื่อไหร่ ตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจด้วยตนเอง Antigen Test Kit

ถึงแม้เราจะอยู่กับ โควิด-19 มาเกือบสองปีแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเราจะยังไม่สามารถควบคุมการระบาดของ โรคได้ แถมยังมีสายพันธ์ใหม่ๆ เกิดเพิ่มขึ้นมาอีกตลอดเวลา

ข้อสงสัยโควิด

ปวดหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นี่เราเป็นไข้ หรือ ติดเชื้อ โอไมครอน ?

โอไมครอน เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำเอาใครต่อใครหลายคนกังวลไปตามๆ กัน ว่าอาการปวดหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ที่กำลังเป็นนี้หรือเปล่าที่มาจากการติดเชื้อ โอมิครอน วันนี้เอ็กซ์ต้า พลัส จึงจะพาทุกคนมีไข้ข้อข้องใจของเชื้อไวรัสนี้กันค่ะ ทำความรู้จัก โอไมครอน เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ คืออะไร?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

บันทึก