เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด อย่างถูกวิธี และแบบไหนที่เหมาะกับคุณ

คุมกำเนิด

การ คุมกำเนิด ในเดือนแห่งความรักที่ได้กลับมาอีกครั้ง นอกจากความรักที่เรามี และมอบให้กับคนที่เรารักแล้ว เรายังต้องรู้จักที่จะรักตัวเอง ซี่งการเรียนรู้เรื่องการ คุมกำเนิด ก็เป็นหนึ่งในการเรียนรู้ที่จะรักตัวเอง

บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการ คุมกำเนิด ในแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้เราสามารถตัดสินใจเลือกใช้การ คุมกำเนิด ที่เหมาะสมกับเรามากที่สุดกันค่ะ

การ คุมกำเนิด นอกจากจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมแล้ว การ คุมกำเนิด บางประเภทยังสามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ โดยการ คุมกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่

  1. การ คุมกำเนิด ถาวรหรือการทำหมัน เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการตัดท่อนำอสุจิในเพศชายและและการตัดท่อนำไข่ในเพศหญิง
  2. การ คุมกำเนิด ชั่วคราวเหมาะสำหรับคนที่ยังไม่ต้องการมีบุตรในขณะที่ทำการ คุมกำเนิด แต่สามารถกลับมามีบุตรได้หลังจากยุติการคุมกำเนิด การคุมกำเนิดชั่วคราวมีหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสีย และประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี และแบบไหนที่เหมาะกับคุณ

ประเภทของการ คุมกำเนิด ชั่วคราว

  1. การใช้ถุงยางอนามัย

การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก สามารถเลือกได้ทั้งถุงยางอนามัยสำหรับเพศชายและเพศหญิง นอกจากการ คุมกำเนิด แล้ว การใช้ถุงยางอนามัยยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย

ถุงยางอนามัยมีความแตกต่างกันทั้งในวัสดุที่ใช้ ซึ่งมีทั้งยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ที่เหมาะสำหรับคนที่แพ้ถุงยาง ใช้แล้วมีอาการผื่นคัน นอกจากนี้ยังแตกต่างกันในขนาดและลักษณะทางกายภาพ เช่น สี กลิ่น แต่ทั้งนี้การใช้ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 98% เมื่อใช้อย่างถูกวิธี ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งต้องตรวจสอบดังนี้

  • เลือกขนาดของถุงยางอนามัยให้เหมาะสม

  • ตรวจสอบวันหมดอายุก่อนใช้งานห้าม ใช้งานถุงยางอนามัยที่หมดอายุแล้ว

  • ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ก่อนใช้งาน ต้องไม่ฉีกขาด ดังนั้นการเก็บรักษาจึงสำคัญ ไม่ควรเก็บในที่ที่ร้อนจัดเช่น ในรถ เป็นต้น

  • สวมและถอดถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี โดยไม่ สวมถุงยางอนามัยช้าเกินไป และ ไม่ ถอดหลังจากอวัยวะเพศอ่อนตัว

  • ห้าม ใช้ถุงยางอนามัยซ้ำ


  1. การใช้ยาเม็ด คุมกำเนิด

เมื่อดูตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ยาเม็ดคุมกำเนิดมี 2 ประเภท ได้แก่

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ที่ต้องใช้เป็นประจำเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังออกฤทธ์ช่วยปรับรอบเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน ลดอาการไม่สบายตัวก่อนมีประจำเดือน ที่เรียกว่า PMS ปรับฮอร์โมน จึงนำมาใช้ในการรักษาภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือ ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) นอกจากนี้ยาเม็ดคุมกำเนิดบางยี่ห้อยังใช้ในการรักษาภาวะขนดก สิว ผิวมัน ที่เกิดจากการมีฮอร์โมนเพศชายที่มากเกินไป

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมมีส่วนประกอบสำคัญ คือ ฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่ออกฤทธิ์คุมกำเนิดหลากหลายกลไก ได้แก่ การยับยั้งการตกไข่ ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว และปรับสภาวะเยื่อบุมดลูกไม่ให้เหมาะกับการฝังตัวของไข่


วิธีการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม  ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ในเวลาเดียวกันทุกวัน

  • โดยถ้าเป็นยาคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด ให้รับประทานติดต่อกัน 21 วัน และหยุดรับประทานยา 7 วัน โดยในช่วงที่หยุดรับประทานยา จะมีประจำเดือนมา และสามารถเริ่มยาแผงถัดไปหลังจากหยุดยาได้ 7 วัน (หรือในวันที่ 8 ที่หยุดรับประทานยา) โดยไม่ต้องสนใจว่า ประจำเดือนจะหมดแล้วหรือไม่

  • การใช้ยาคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ด จะมีตัวยา 21 เม็ดและเป็นเม็ดแป้ง 7 เม็ด เหมาะสำหรับผู้ที่มักจะลืมรับประทานยา วิธีรับประทานคือให้รับประทานยาติดต่อกันทุกวัน และขึ้นแผงใหม่ทันที เมื่อรับประทานยาหมด โดยในช่วงเม็ดแป้งจะมีประจำเดือนมา

  • นอกจากนี้ ยังมียาคุมกำเนิดที่มียาฮอร์โมน22 เม็ด และ 24 เม็ด และมีเม็ดแป้ง 6 และ 4 เม็ดตามลำดับ ซึ่งก็มีวิธีการรับประทานยาที่เหมือนกัน คือรับประทานยาติดต่อกันทุกวัน

**สำหรับการเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดแผงแรก ให้เริ่มรับประทานวันที่ 1-5 หลังจากประจำเดือนมาวันแรก และแนะนำให้ใช้การคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัยร่วมด้วย จนกว่าจะใช้ยาหมดแผง**


การลืมทานยาคุมกำเนิด

  • การลืมใช้ยาคุม1 เม็ด ให้รับประทานยาคุม 1 เม็ดทันทีที่นึกได้ และรับประทานยาคุมกำเนิดเม็ดที่เหลือตามปกติ

  • การลืมใช้ยาคุมกำเนิด 2 เม็ด

  • ถ้าเป็น 2 สัปดาห์แรก ให้รับประทานยาคุมกำเนิดครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 2 วัน หลังจากนั้นให้ใช้วันละ 1 เม็ดจนหมดแผง

  • ถ้าเป็นสัปดาห์ที่ 3 ให้หยุดยา รอประจำเดือนมาแล้วเริ่มยาคุมแผงใหม่ โดยต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยขณะมีเพศสัมพันธ์

  • การลืมใช้ยาคุมกำเนิด 3 เม็ด ให้หยุดยา รอประจำเดือนมาแล้วเริ่มยาคุมแผงใหม่ โดยต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยขณะมีเพศสัมพันธ์

อาการข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ตึงเต้านม น้ำหนักตัวเพิ่ม เลือดออกกระปริบกระปรอย ซึ่งถ้ามีอาการข้างเคียงมาก แนะนำปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อปรับชนิดของยาให้เหมาะสม

ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน 

แนะนำให้ใช้เมื่อฉุกเฉินเท่านั้น เช่น ในกรณีถูกข่มขืน ถุงยางอนามัยชำรุด ไม่ควรใช้เป็นประจำเนื่องจากประสิทธิภาพการคุมกำเนิดไม่ดีเท่าการใช้ฮอร์โมนรวม นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงมาก ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ประจำเดือนมาผิดปกติ เลือดออกกระปริบกระปรอย เป็นต้น


3. การใช้ยาฉีดและยาฝัง คุมกำเนิด

เป็นอีกหนึ่งในวิธีที่คุมกำเนิดด้วยการใช้ฮอร์โมน มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง เนื่องจากลดความเสี่ยงในการลืมทานยา ซึ่งผู้ที่สนใจการคุมกำเนิดวิธีนี้สามารถปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มเติม


4. การใช้ห่วง คุมกำเนิด

คือ การใช้อุปกรณ์ใส่ไปที่โพรงมดลูก ทำให้ไข่ไม่สามารถฝังตัวได้ ห่วงคุมกำเนิดบางชนิดมีผสมทองแดงที่ช่วยฆ่าเชื้ออสุจิ หรือผสมฮอร์โมนที่มีกลไลเพิ่มเติมในการยับยั้งการตกไข่ และทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว ผู้ที่สนใจการคุมกำเนิดวิธีนี้ สามารถปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มเติม


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ดีต่อสุขภาพ หรือเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. Condoms, Your contraception guide, NHS.UK. 12 October 2020 Retrieved from https://www.nhs.uk/conditions/contraception/male-condoms
  2. แพทย์หญิงธันยารัตน์ วงศวนานุรักษ์. การคุมกำเนิด (ตอนที่1). Siriraj E-Public Library. Faculty of Medicine Siriraj Hospital. Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=575
  3. Reproductive Health. CDC. Retrieved from https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS ไวรัส RSV อาการต่างกันอย่างไร ?

เปรียบเทียบอากา

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

รู้ทัน รักษาไว ไวรัส RSV โรคติดเชื้อในเด็กเล็ก

เข้าสู่หน้าฝนแล

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

เตรียมผิวให้พร้อม ก่อน-หลัง ออกแดด

เมื่อเมืองไทยเป

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย

สารอาหารที่จำเป็นต่อผิว ป้องกันสิวจากภายใน

การ ป้องกันสิว

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

น้ำตาลในเลือดสูง อาการ สาเหตุ และการป้องกันความเสี่ยงโรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสู

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ตาพร่ามัว: สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ตาพร่ามัว หรือ

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

บาดทะยัก โรคอันตรายที่ควรระวัง เมื่อเป็นแผลต้องทำอย่างไร ?

บาดทะยัก หรือ ก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก