ตาเหลือง เกิดจากอะไร อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์

ตาเหลือง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น บางอวัยวะในร่างกายทำงานผิดปกติไม่ว่าจะเป็น ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ฯลฯ ที่มีอาการส่งผลให้ตาขาวมีสีเหลือง เยื่อตามีสีที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ขาวใสตามปกติ ซึ่งหากใครที่มีอาการตาเหลืองควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา และวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลเกี่ยวกับ ตาเหลือง เกิดจากอะไร อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์ มาแชร์กัน

 

ตาเหลือง เกิดจากอะไร ?

 

ตาเหลือง เกิดจากอะไร ?

 

ตาเหลือง อาจเกิดจากโรคตับอักเสบ หรือ ดีซ่าน อาการตาเหลืองเกิดจากการรวมตัวกันของสารบิลิรูบิน (Bilirubin) สารสีเหลืองที่มีอยู่ในน้ำดี ซึ่งเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับตับ ผู้ป่วยจะมีสารบิลิรูบินในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งทำให้เยื่อตาเป็นสีเหลือง อาการตาเหลืองนี้ส่อโรคตับอักเสบ โรคตับแข็ง ทำตาขาวมีลักษณะเป็นสีเหลืองทั่วดวงตาทั้งสองข้าง

 

ตาเหลืองเป็นเรื่องปกติหรือไม่

เนื้อเยื่อตาที่มีสุขภาพดี จะมีลักษณะเป็นสีขาว หากดวงตาที่มีสีเหลืองเกิดขึ้นบริเวณตาขาว หรือ เยื่อตา อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพที่มีปัญหา เพราะอาการตาเหลืองจะสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีสารเคมีที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นเม็ดสีเหลืองที่เกิดจากการสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง หากเลือดมีบิลิรูบินมากเกินไป ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดออกได้ และเกิดการสะสมมากขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังและดวงตาเป็นสีเหลือง โดยปกติแล้วเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรงซึ่งบ่งบอกถึงปัญหาในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่ในบางครั้ง หากมีอาการตาสีเหลืองอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน

 

สาเหตุที่ทำให้ ตาเหลือง คืออะไร ?

สาเหตุที่ทำให้ ตาเหลือง คืออะไร ?

 

ตาเหลืองอาจเกิดจากการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายผิดปกติไปจากเดิม ทำให้เกิดเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่ง ได้แก่

1. ตับ

เป็นอาการที่เกิดจากตับขับน้ำดีไม่สะดวก หรือ ไม่ทัน ทำให้มีการคั่งของน้ำดีในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดความผิดปกติซึ่งอาจส่งผลให้เกิดเป็นโรคต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับร่างกาย เช่น

  • โรคตับแข็ง
  • มะเร็งตับ
  • การติดเชื้อในตับ
  • โรคตับอักเสบบี และซี

2. ถุงน้ำดี

ประกอบไปด้วยน้ำดีจากตับ ที่ช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยไขมัน และเชื่อมต่อกับตับผ่านทางท่อน้ำดี ภาวะต่าง ๆ เช่น นิ่ว ซีสต์ และเนื้องอก ให้สามารถปิดกั้นท่อน้ำดีได้ ดังนั้น เมื่อท่อน้ำดีไม่สามารถลำเลียงน้ำดีได้จะเกิดการสะสมตัวมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการตาเหลือง

3. ตับอ่อน

อวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน และเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร นอกจากท่อน้ำดีแล้ว ท่อจากตับอ่อนยังเป็นท่อที่นำไปสู่ลำไส้เล็ก ดังนั้น หากมีการติดเชื้อ หรือ มีสิ่งกีดขวาง การสะสมของบิลิรูบินอาจทำให้เกิดอาการ ตาเหลือง ได้เช่นเดียวกัน

4. ความผิดปกติของเลือด

เลือดที่ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย อาจเกิดความผิดปกติจากระบบการทำงานของเลือด และอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค เช่น โรคโลหิตจาง หรือ โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก เป็นต้น

 

อาการ ตาเหลือง สัญญาณของโรคและภาวะต่าง ๆ

 

อาการตาเหลือง สัญญาณของโรคและภาวะต่าง ๆ

 

ตาเหลือง ที่เกิดจากโรคและภาวะผิดปกติของร่างกาย จะมีอาการแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของโรค หรือ ภาวะนั้น ๆ ในบางรายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด ตัวเหลือง และตาเหลือง หรือ มีอาการอื่น ๆ ดังนี้

 

โรคและภาวะผิดปกติ  ลักษณะอาการ 
ตับอักเสบ  มีอาการคล้ายไข้หวัด ตัวเหลือง และตาเหลือง 
ดีซ่าน  ท้องมาน ขาบวม หรือ ในบางรายมักเกิดอาการปวดท้องบริเวณชายโครงขวาจากมะเร็งตับที่เกิดแทรกซ้อน 
นิ่วในถุงน้ำดี  ท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ เรอ คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาการของอาหารไม่ย่อย 
ภาวะโลหิตจาง  รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย บางคนอาจมีความรู้สึกหงุดหงิด ได้ง่ายกว่าปกติ 

 

อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์

 

อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์

 

หากพบว่าดวงตามีลักษณะของสีตาขาวที่เปลี่ยนแปลงไปจากสีขาว เป็นสีเหลือง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และตรวจหาสาเหตุให้สามารถได้รับการรักษาที่ถูกวิธี โดยหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิต

  • สูญเสียความอยากอาหาร
  • เลือดออกจมูก
  • คันผิวหนัง
  • รู้สึกอ่อนแอ หรือ เหนื่อยล้าเป็นประจำ
  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ขา หรือ ท้องมีอาการบวม
  • ปัสสาวะเหลืองเข้มกว่าปกติ
  • อุจจาระสีซีด
  • ปวดข้อ หรือ กล้ามเนื้อมีอาการที่ผิดปกติไปจากเดิม
  • สีผิวคล้ำขึ้น หรือ มีการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองร่วมด้วยกับอาการตาเหลือง

 

สรุป

โดยปกติแล้ว ดวงตาที่มีสุขภาพดี ต้องมีสีขาวสดใส ดังนั้น หากดวงตามีลักษณะสีที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสีเหลือง อาจเกิดจากโรคตับอักเสบ หรือ ดีซ่านซึ่งเป็นสาเหตุของโรคที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตาเหลือง ตัวเหลือง และมีความผิดปกติของผลเลือดที่แสดงการทำงานของตับ และสาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดจากการทำงานของอวัยวะในร่างกาย ซึ่งหากพบว่าตัวเองกำลังมีอาการตาเหลือง ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเป็นโรคตับ หรือ ภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาอย่างทันที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงรวมไปถึงความเสียหายของอวัยวะในร่างกาย

 

ที่มา:

สีดวงตา..บอกโรค จาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมื่อ ‘ตา’ ส่งสัญญาณเตือน จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ตาเหลืองตัวเหลือง แบบไหน? เกิดจากโรคตับ จาก ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์

รู้จักไวรัสตับอักเสบ จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

“วายร้าย” ไวรัสตับอักเสบ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

รู้จักอาการ “นิ่วในถุงน้ำดี” จาก RAMA CHANNEL

ภาวะโลหิตจาง จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Yellow Eyes จาก Centreforsight

Why Are My Eyes Yellow? จาก Healthline

Yellow Eye: What Are Its Symptoms and How to Treat It? จาก Prasadnetralaya

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก