รวมวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกัน 3 โรคระบาดที่มาพร้อมช่วงปลายฝนต้นหนาว

รวมวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกัน 3 โรคระบาดที่มาพร้อมช่วงปลายฝนต้นหนาว

เมื่อลมหนาวใกล้เข้ามา ในช่วงปลายเดือนตุลาคมของทุกปี ที่ถือเป็นช่วงสิ้นหน้าฝน 🌧 แม้บางพื้นที่อาจจะมีฝนตกในตอนเช้า อากาศหนาวในตอนเย็น หากร่างกายปรับตัวไม่ทันจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ 🤧 และส่งผลเสียต่าง ๆ ต่อสุขภาพตามมา
เอ็กซ์ต้า พลัส ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่มาพร้อมกับช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งในปัจจุบันได้มีวัคซีนต่าง ๆ ที่สามารถป้องกันอาการรุนแรงจากโรคเหล่านี้


โดย “การฉีดวัคซีน” คือสิ่งที่สามารถช่วยสร้างภูมิต้านทาน ให้แก่ร่างกายได้ เป็นการฉีดสารชนิดหนึ่งที่มีเชื้อโรคที่ไม่อันตรายต่อร่างกายเข้าไปเพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกาย
สร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อเชื้อโรคนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • โรคไข้หวัดใหญ่

  • โรคหัด

  • โรคปอดอักเสบ

 ไข้หวัดใหญ่ 
เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูงเกิน 38 องศา ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก และมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย สามารถรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยฉีดปีละ 1 ครั้ง จะช่วยลดความรุนแรงจากการป่วย และลดการเสียชีวิต จากภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ได้

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค

โรคหัด กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมาคือ 25-34 ปี อาการที่พบบ่อย คือ #ไข้ออกผื่น มักมีไข้ประมาณ 3 วัน และพบผื่นแดงขึ้นตามตัว อาจมีอาการคัน โดยผื่นเริ่มขึ้น จากศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และ แขนขา ตามลำดับ.

การรับวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles Vaccine) โดยปกติแล้วจะได้รับ วัคซีนตั้งแต่เด็ก แต่กรณีเด็กวัยรุ่น และ ผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบ ให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน

ข้อมูลจาก สสส.

ปอดอักเสบ
อาการของปอดอักเสบเกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส ที่สามารถ
ก่อให้เกิดการติดเชื้อแบบลุกลาม เช่น ปอดอักเสบ ติดเชื้อ
ในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้
โดยผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น ไอ มีเสมหะ หรือเจ็บหน้าอกเวลาไอหรือหายใจเข้า

สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน โดยประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ
1. วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV 13)
2. วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPSV23)

ผู้ที่ควรได้รับวัคซีน
– เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
– ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี
– ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
โรคปอด โรคไต โรคตับ หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


💬 หากใครมีคำถาม หรือข้อสงสัย เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถปรึกษากับเภสัชกร ได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส
ทุกสาขาทั่วประเทศ

ลูกค้าสามารถค้นหาสาขาใกล้บ้านได้ที่นี่
หรือสะดวกกว่านั้น ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่แอป ALL PharmaSee คลิก! 👩🏻‍⚕️✌🏻 ปรึกษาเภสัชกรฟรี 24 ชม. สุขภาพดีผ่านแอป

Open this in UX Builder to add and edit content

สินค้าที่เกี่ยวข้อง


บทความที่เกี่ยวข้อง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก