ช่วงนี้ฝุ่น PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง เพราะฉะนั้นแล้ววัยเก๋าอย่างพวกเราก็ต้องกลับมาดูแลตัวเองให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
เพราะฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีอนุภาคเล็กมากพอที่สามารถสูดเข้าไปในปอดได้ และยังสามารถทำให้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ อย่าง หอบหืด ไอ เจ็บคอ เลือดกำเดาไหล นอกจากนั้นแล้วก็อาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างโรคถุงลมโป่งพอง[1]
ที่มีความอันตรายเหมือนการสูบบุหรี่ เพราะถ้าหากสูดฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าไป ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ทำให้พื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซลดน้อยลง และทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย[2]
เพราะฉะนั้นแล้วผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ควรที่จะต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะในวัยนี้จะมีความต้านทานโรคน้อย และส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นผู้ที่โรคประจำตัวร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรังก็จะก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืดได้ หรือถ้าหากได้รับฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณมาก และนานก็สามารถเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้เช่นกัน
นอกจากนั้นผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจเมื่อได้รับฝุ่นเข้าไปก็อาจจะทำให้อาการกำเริบ และเสียชีวิตได้[2]
วิธีการดูแลตัวเองจากภัยฝุ่น PM 2.5 ฉบับผู้สูงวัยมีดังนี้
หลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้าน งดการออกกำลังกายภายนอกบ้าน อย่างเช่น การเดินออกกำลังกาย ในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูง
สวมใส่หน้ากากอนามัย โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยแบบ N95 เพราะมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นได้มากกว่าหน้ากากอนามัยแบบปกติ แต่ถ้าไม่สามารถหาซื้อหน้ากากอนามัย N95 ได้ก็สามารถใช้หน้ากากอนามัยแบบปกติได้ด้วยการใช้ทิชชู่ 2 ชั้นบนหน้ากากอนามัย
สวมใส่แว่นหรือแว่นกันแดด เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าตา
ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เพื่อให้การกรองอากาศสะอาดมากขึ้น
ปิดหน้าต่าง ประตูบ้านอย่างมิดชิด

ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีควรที่จะต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัว เพราะฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีอนุภาคเล็ก และอาจก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคที่ร้ายแรงมากกว่านั้นอย่างโรคมะเร็งปอด
โดยวิธีการป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM 2.5 เบื้องต้นก็คือ การงดออกกำลังกายนอกบ้าน หรือหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกในช่วงที่มีค่าฝุ่นเยอะ, ปิดหน้าต่าง หรือประตูให้มิดชิด และที่สำคัญคือสวมใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำโดยแนะนำหน้ากากอนามัยแบบ N95
เพราะจะมีประสิทธิภาพมากกว่าหน้ากากอนามัยแบบปกติ แต่ถ้าหากไม่สะดวกใช้ หรือไม่สามารถหาซื้อหน้ากากอนามัย N95 ได้ ก็สามารถใช้หน้ากากแบบปกติได้ด้วยการใช้ทิชชู่ 2 ชั้นบนหน้ากาก
และถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสทุกสาขาใกล้บ้าน หรือที่ แอปฯ ALL Pharma See ดาวน์โหลดฟรีที่

เอกสารอ้างอิง
[1]โรคเก๊าท์ [ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 17]
https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_8_006.html
[2]โรคเก๊าท์ [ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 17]
https://www.doctor.or.th/article/detail/6481
[3]วิตามินซีกับโรคเก๊าท์ [ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 17]
[4]บทความการวินิจฉัยโรคเก๊าท์และแนวทางการรักษาภาวะข้ออักเสบเฉียบพลันในโรคเก๊าท์ [ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 17]
https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=205
[5]บทความวิชากาสำหรับการศึกษาต่อเนื่อง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เรื่องโรคเก๊าท์ (Gout) [ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 17]
https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=667
[6]โรคเก๊าท์ [ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 17]