สมุนไพรแก้ไอ มีอะไรบ้าง พร้อมการทานอย่างถูกวิธี

สมุนไพรแก้ไอ มีอะไรบ้าง พร้อมการทานอย่างถูกวิธี

สมุนไพรแก้ไอ มักนิยมนำมาใช้บรรเทาอาการไอ และขับเสมหะ โดยการรับประทานเพื่อช่วยรักษาอาการเบื้องต้นที่เกิดจากการไอด้วยตัวเอง เพราะ สมุนไพรแก้ไอ มีฤทธิ์ในการช่วยบรรเทาอาการไอ ได้ดี และยังมีกลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ึงมีข้อมูลดี เกี่ยวกับ สมุนไพรแก้ไอ มีอะไรบ้าง พร้อมการทานอย่างถูกวิธี มาแบ่งปันกัน

 

กลไกที่ทำให้เกิดการเกิดอาการไอ

อาการไอ เป็นการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไกป้องกันสำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือ สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และอาการไอยังเป็นช่องทางในการแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายอีกด้วย

 

การรักษาอาการไอ

เริ่มจากการหาสาเหตุและทำการรักษาให้ตรงกับอาการ โดยในปัจจุบัน ยาบรรเทาอาการไอ หรือ ยาแก้ไอที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมักเป็นยาแผนปัจจุบันที่ผลิตจากตัวยาสังเคราะห์ ยกตัวอย่าง เช่น

  • กลุ่มยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ
  • กลุ่มยาแก้ไอสำหรับอาการไอแห้ง
  • ยาที่ผลิตจากสมุนไพร ที่เป็นยาบรรเทาอาการไอขนานดั้งเดิมโบราณ

 

สมุนไพรแก้ไอ คืออะไร ?

 

สมุนไพรแก้ไอ คืออะไร ?

 

เป็นยาที่ผลิตจากสมุนไพรหลากหลายชนิด โดยนำมาใช้เป็นยาบรรเทาอาการไอขนานดั้งเดิม มาตั้งแต่โบราณ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ ทิงเจอร์ฝิ่นการบูร ที่ออกฤทธิ์ระงับอาการไอ มีสารสำคัญคือสารอัลคาลอยด์ (Codeine) และสารสกัดชะเอม ทำหน้าที่เคลือบ และป้องกันเยื่อบุทางเดินหายใจจากเสมหะและสิ่งระคายเคือง ใช้บรรเทาอาการไอแห้ง หรือ การไอแบบมีเสมหะใสในผู้ใหญ่ที่มีการไอบ่อยครั้ง ซึ่งสมุนไพร ที่ใช้สำหรับอาการไอนั้น สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. สมุนไพรบรรเทาอาการไอ

สมุนไพรเคลือบเยื่อบุทางเดินหายใจ ที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการระคายเคือง เช่น น้ำผึ้ง มะนาว มะขามป้อม และสมุนไพรที่มีฤทธิ์กดศูนย์ไอในสมอง เช่น ฝิ่น ซึ่งจัดเป็นตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยในร้านยาที่มีการจำหน่ายจะต้องมีเภสัชกร (แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง) เป็นผู้ควบคุมปฏิบัติการอยู่

2. สมุนไพรขับเสมหะ

โดยการนำสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น เหง้าขิง ผลดีปลี ดอกกานพลู ผลพริกไทย ต้นกะเพรา หรือ สมุนไพรที่มีกรดอินทรีย์ซึ่งมีรสเปรี้ยว เช่นนื้อฝักมะขามแก่ น้ำมะนาว ผลมะขามป้อม ผลบ๊วย ผลมะนาวดอง  ที่แสดงฤทธิ์ในการบรรเทาอาการไอได้ดี และมีกลไกการออกฤทธิ์อื่น ได้แก่ ผลมะแว้งเครือ ผลมะแว้งต้น ใบเสนียด เมล็ดเพกา ที่ช่วยทำหน้าที่เคลือบ และป้องกันเยื่อบุทางเดินหายใจจากเสมหะ และสิ่งระคายเคือง ใช้บรรเทาอาการไอแห้ง หรือ การไอแบบมีเสมหะใสในผู้ใหญ่ที่มีการไอบ่อยครั้ง

 

สมุนไพรแก้ไอ มีอะไรบ้าง

 

สมุนไพรแก้ไอ มีอะไรบ้าง

 

จากข้อมูลที่สาธารณสุขมูลฐานได้กำหนดรายการ สมุนไพรแก้ไอขับเสมหะ ตามบัญชียาจากสมุนไพรในปี พ.ศ. 2555 ไว้ดังนี้

1. มะแว้งต้น (Solanum Indicum) หรือ มะแว้งเครือ (Solanum Trilobatum) มีสารสำคัญได้แก่อัลคาลอยด์ solasodine ใช้ผลแก่ที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงของมะแว้งต้นหรือมะแว้งเครือ จำนวน 10-20 ผล กินแก้ไอ ขับเสมหะ เด็กใช้ 2-3 ผล ตำกวาดคอ

2. มะนาว (Citrus Aurantifolia) มีสารสำคัญคือ Citric Acid ใช้น้ำคั้นผลที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเกลือเล็กน้อยจิบบ่อย ๆ

3. มะขาม (Tamarindus Indica) มีสารสำคัญในเนื้อฝักมะขามแก่ คือ Tartaric Acid ที่ช่วยบรรเทาอาการไอโดยใช้เนื้อฝักแก่จิ้มเกลือรับประทาน หรือ คั้นน้ำผสมเกลือจิบ

4. มะขามป้อม (Phyllanthus Emblica) ใช้เนื้อผลแก่ 2-3 ผล โขลกพอแหลก จิ้มเกลือเล็กน้อย อมหรือเคี้ยว วันละ 3-4 ครั้ง โดยสารสำคัญในมะขามป้อมได้แก่ วิตามินซี

5. เพกา (Oroxylum Indicum) นำเมล็ดเพกา 1/2-1 กำมือ (1.5-3 กรัม) ต้มน้ำเดือด 2 แก้ว (300 มล.) นาน 1 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง

6. ขิง (Zingiber Officinale) โดยนำเหง้าขิงแก่มาฝนกับน้ำมะนาว หรือขิงสดตำผสมน้ำ และเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอ หรือ จิบบ่อยๆ สารสำคัญในเหง้าขิงได้แก่ น้ำมันหอมระเหย เช่น Gingerol และ Zingerone ซึ่งควรระวังการใช้เหง้าขิงในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือ ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากเหง้าขิงอาจมีผลลดน้ำตาลในเลือด

7. ดีปลี (Piper Longum) เป็นพืชสมุนไพรที่มีรสชาติเผ็ดร้อน โดยใช้ผลดีปลีแห้ง 1 ผล ฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอ หรือ จิบบ่อย ๆ บรรเทาอาการไอได้ สารสำคัญในดีปลีได้แก่ Beta-Caryophyllene

 

สมุนไพรแก้ไอ มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง

 

สมุนไพรแก้ไอ มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง

 

1. ช่วยบรรเทาอาการไอ พืชสมุนไพรที่มีกรดผลไม้ที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มการหลั่งน้ำลาย จะช่วยบรรเทาอาการไอ ดังนั้น การรับประทานสมุนไพรแก้ไอจะช่วยให้อาการไอดีขึ้น อีกทั้งยังทำให้ไม่เสี่ยงต่อการอักเสบของลำคอได้อีกด้วย

2. ช่วยละลายเสมหะ เสมหะ หรือ ที่เรียกว่า “เสลด” เกิดจากหลอดลมมีเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมเข้าไป ทำให้ร่างกายเกิดกลไกการป้องกันโดยการหลั่งเสมหะมาเคลือบที่ลำคอ หากรับประทานสมุนไพรแก้ไอแล้วจะช่วยให้ขับเสลดออกมาได้ เพราะสมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะในลำคอให้ดีขึ้น

3. ลดการอักเสบ ระคายเคืองในช่องคอ การรับประทานสมุนไพรแก้ไอที่ช่วยลดการอักเสบ ระคายเคืองในช่องคอ จะช่วยให้ตัวสมุนไพรเข้าไปทำหน้าที่ในการลดอาการบวม และการอักเสบในลำคอได้

4. ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอ เมื่อมีอาการไอ มีความรู้สึกฝืดคอ คอแห้ง หรือ รู้สึกไม่สบายในลำคอ สมุนไพรแก้ไอสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอได้ เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจาก จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับลำคอ มีน้ำหล่อเลี้ยงลำคอได้ดีขึ้น และยังช่วยให้เสียงที่แหบกลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย

 

ผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพรแก้ไอ รูปแบบต่าง ๆ

 

ผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพรแก้ไอ รูปแบบต่าง ๆ

 

ปัจจุบันนิยม สมุนไพรไทย เข้ามาเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรแก้ไอ และยาสมุนไพรละลายเสมหะในรูปแบบต่าง ๆ มากมายซึ่งได้แก่

1. ยาน้ำ สมุนไพรแก้ไอ

ในยาน้ำสมุนไพรแก้ไอส่วนใหญ่แล้วจะมีเมนทอล และสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก โดยที่สมุนไพรจะเข้าไปช่วยเปิดทางเดินหายใจ ทำให้อาการไอลดลง สมุนไพรส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาทำเป็นยาน้ำสมุนไพรละลายเสมหะ แก้ไอซึ่ง ได้แก่ มะขาม ขิง มะนาว ฟ้าทะลายโจร และมะแว้ง เป็นต้น

2. ยาอม สมุนไพรแก้ไอ
ยาอมสมุนไพรแก้ไอเป็นยาที่มาในลักษณะที่มีเหมือนกับลูกอม โดยส่วนใหญ่แล้วยาอมแก้ไอ มักจะมีรสหวานเพื่อช่วยให้สามารถอมได้เรื่อย ๆ แต่ไม่สามารถใช้เพื่อรักษาอาการอักเสบภายในช่องปาก และลำคอได้ เพราะยาอมสมุนไพรส่วนใหญ่จะช่วยลดอาการเจ็บคอ ช่วยให้ชุ่มคอ ซึ่งส่งผลทำให้อาการไอลดลง

3.ยาอัดเม็ด สมุนไพรแก้ไอ

ยาสมุนไพรที่ถูกตอกให้มีรูปร่างแบนกลม วงรี เหลี่ยม หรือ ลักษณะสวยงาม มีลักษณะแข็ง สำหรับรับประทาน สารช่วยต่าง ๆ ในตำรับยาเม็ดสมุนไพร โดยยาเม็ดสมุนไพรถือได้ว่า เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีความคงตัวดีทั้งทางกายภาพ และเคมีรวมไปถึงยังมีความสะดวกในการรับประทาน

 

ข้อควรระวังการใช้ยาตำรับบรรเทาอาการไอที่มีอยู่ในบัญชียาจาก สมุนไพร พ.ศ. 2555

 

ตำรับสมุนไพรแก้ไอ  ข้อควรระวัง 
ตำรับที่มีมะขามป้อม  ระวังอาการท้องเสีย 
ตำรับที่มีรากชะเอมเทศ  ระวังการใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 
ตำรับยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน  ระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
หรือ ผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำหนัก 
ตำรับที่มีประสะมะแว้ง  หลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจำกัด
ปริมาณเกลือในร่างกาย 
ตำรับยาอำมฤควาที ที่มีส่วนผสมของเกลือแกง  หลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจำกัด  

ปริมาณเกลือในร่างกาย 

ตำรับที่มีส่วนผสมของชะเอม  หากมีการใช้อย่างต่อเนื่อง อาจกดภูมิคุ้มกัน
ของร่างกาย และเกิดแผลในกระเพาะอาหาร 
ตำรับที่มีส่วนผสมของมะขามแขก  อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อล้า ปวดกล้ามเนื้อ 
ตำรับที่มีส่วนผสมของสะระแหน่  ควรระวังในการใช้กับผู้ป่วย
ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง 

ทาน สมุนไพรแก้ไอ อย่างไรให้ถูกวิธี

1. ควรรับประมาณ สมุนไพรแก้ไอ ในปริมาณที่พอเหมาะ

 

ควรรับประมาณ สมุนไพรแก้ไอ ในปริมาณที่พอเหมาะ

 

ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เพราะอาจจะได้รับสารที่มากเกินความจำเป็น และส่งผลเสียต่อร่างกาย รวมไปถึงควรรับประทานตามระยะเวลาที่แพทย์ หรือ เภสัชกรแนะนำ

 

2. การเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และสารให้ความหวาน ควรเติมในปริมาณที่พอเหมาะ

 

การเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และสารให้ความหวานจาก สมุนไพรแก้ไอ ควรเติมในปริมาณที่พอเหมาะ

 

ควรศึกษาสมุนไพรแต่ละชนิดให้ละเอียด เพราะสมุนไพรบางชนิดอาจจะไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือ ความดันโลหิต

 

3. สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร และสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

 

สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร และสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน สมุนไพรแก้ไอ ทุกครั้ง

 

สตรีมีครรภ์ และเด็กหากจะรับประทาน สมุนไพรแก้ไอ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อประเมินความเสี่ยงและรับคำแนะนำ ก่อนรับประทานยา

 

4. ควรเลือกซื้อ สมุนไพรแก้ไอ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และได้มาตรฐานรับรอง

 

ควรเลือกซื้อ สมุนไพรแก้ไอ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และได้มาตรฐานรับรอง

 

เพราะใน สมุนไพรมักมีสารปนเปื้อน และยาฆ่าแมลง การเลือกซื้อจากแหล่งการซื้อขายที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัยจะทำให้ร่างกายรับประทานเข้าไปโดยไม่เกิดสารตกค้างในร่างกาย

สมุนไพร และตำรับยาสมุนไพร นั้นสามารถออกฤทธิ์ช่วยในการบรรเทาอาการไอ ซึ่งไม่ได้มีผลในการรักษาต้นเหตุของการไอ ดังนั้น การหาวิธีการรักษาที่ต้นเหตุ โดยการพบแพทย์เพื่อรักษาโรค หรือ หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่เป็นสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดการไอ จึงเป็นแนวทางในการรักษาอาการไอที่มีประสิทธิภาพ

 

ทั้งนี้ อาการไอ ถือเป็นหนึ่งใน 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถเข้ารับยาได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่มี สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 400 สาขา ทั่วประเทศ

 

ที่มา:

สมุนไพรแก้ไอ จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ช่วยบรรเทาการไอ ละลายและขับเสมหะ จาก หมอชาวบ้าน

อาการไอ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การผลิตยาสมุนไพร จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก