ยาสามัญประจำบ้าน อีกหนึ่งสิ่งจำเป็นสำคัญ ที่เจ้าของบ้านทุกคนควรมีติดบ้าน เพราะอาการเจ็บป่วย หรือ การเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั้งกับตัวเราเอง และคนรอบข้าง ดังนั้น การเตรียมความพร้อมในเรื่องของ “ยาบรรเทาอาการ” จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วย หรือ ปฐมพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้นได้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ ยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็นต้องมี พร้อมสรรพคุณและวิธีใช้ มาฝากกัน
ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร
ยาสามัญประจำบ้าน (Household Remedy หรือ First Aid Kits) เป็นชื่อเรียกของกลุ่มยาแผนปัจจุบันและแผนโบราณ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้ประชาชนทุกคนสามารถซื้อมาใช้เองได้จากร้านขายยาที่น่าเชื่อถือ
โดยผู้ซื้อสามารถสังเกตได้จากฉลากบนขวด หรือกล่องยาที่มีข้อความ “ยาสามัญประจำบ้าน” อยู่ภายในกรอบสีเขียว นั่นหมายถึง ยาประเภทดังกล่าวมีความปลอดภัยสูง หากปฏิบัติตามคำแนะนำ และวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้องจากเภสัชกร ซึ่งปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
ประเภทของยาสามัญประจำบ้าน
1. ยาสามัญประจำบ้าน ประเภทยาใช้ภายใน
เป็นยาที่รับประทานเพื่อรักษา หรือ บรรเทาอาการเจ็บป่วยภายในร่างกาย เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้แพ้ และยาลดน้ำมูก ฯลฯ
ตัวอย่างยาสามัญประจำบ้าน (ใช้ภายใน)
- พาราเซตามอล สำหรับแก้อาการปวด
- ยาธาตุน้ำขาว ใช้สำหรับลดอาการปวดท้อง ท้องเสีย
- ยาแก้ไอชนิดเม็ด และ ชนิดน้ำ ฯลฯ
2. ยาสามัญประจำบ้าน ประเภทยาที่ใช้ภายนอก
เป็นยาที่ใช้กับผิวหนัง หรือ อวัยวะภายนอกร่างกาย เช่น ยาทาแก้ผื่นผิวหนัง ยาหยอด ยาดม ยาล้างบาดแผล ยาใส่แผล ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ และยาดม เป็นต้น
ตัวอย่างยาสามัญประจำบ้าน (ใช้ภายนอก)
- เบตาดีน สำหรับฆ่าเชื้อแผล
- ยาดม แก้อาการวิงเวียนศีรษะ
- ยาหม่อง ยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เคล็ดขัดยอก ฯลฯ
ซึ่งนอกจากตัวยาที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมียาสามัญประจำบ้านอีกหลายกลุ่ม ที่เจ้าของบ้านควรมีติดบ้านเอาไว้ เพื่อสำหรับใช้รักษา หรือบรรเทาอาการ เมื่อมีอาการเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้น
15 กลุ่มยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้าน พร้อมสรรพคุณ
1. กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย ทั้งชนิดของยาสามัญประจำบ้านแบบเม็ด และ ชนิดน้ำ |
บรรเทาอาการจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ และปวดท้อง เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหาร |
ชนิดเม็ด (เคี้ยวก่อนกลืน) เด็ก 6–12 ปี ครั้งละ 1-2 เม็ด
ชนิดน้ำ (เขย่าขวดก่อนใช้ยา) เด็ก 3- 6 ปี ครั้งละ ครึ่ง -1 ช้อนชา
|
ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินท์ |
บรรเทาอาการจุกเสียด ลดอาการระคายเคือง เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหาร | รับประทานหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หรือ เมื่อมีอาการ เด็ก 6-12 ปี ครั้งละ 1-3 เม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3-6 เม็ด |
ยาขับลม | บรรเทาอาการท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ และขับลมในกระเพาะอาหาร |
เขย่าขวดก่อนใช้ยา รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง เด็ก 6-12 ปี ครั้งละ ครึ่ง – 1 ช้อนโต๊ะ ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ |
ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง |
บรรเทาอาการปวดท้อง เนื่องจากจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ | เขย่าขวดก่อนใช้ยา รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง เด็ก 6-12 ปี ครั้งละ ครึ่ง – 1 ช้อนโต๊ะ ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ |
ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต |
บรรเทาอาการ ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก | ใช้สำหรับป้อนให้ทารกและเด็กหลังอาหารเมื่อมีอาการ เด็ก 1–6 เดือน ครั้งละ 1 ช้อนชา ไม่ควรให้เกินวันละ 6 ครั้ง |
ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ |
บรรเทาอาการท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ สำหรับเด็ก | ทาบาง ๆ บริเวณหน้าท้อง วันละ 2-3 ครั้ง |
2. กลุ่มยาแก้ท้องเสีย
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่ |
ใช้สำหรับทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย รวมถึงคนที่มีอาการท้องร่วง หรือในรายที่มีการอาเจียนมาก ๆ เพื่อป้องกันอาการช็อกเนื่องจากร่างกายขาดน้ำ |
เทผงยาทั้งซองละลายในน้ำสะอาด ประมาณ 250 มิลลิลิตร (1 แก้ว) เด็กอ่อน – 2 ปี ให้ดื่มทีละน้อยสลับกับน้ำเปล่า เด็กอายุมากกว่า 2 ปี – ผู้ใหญ่ ควรดื่มสารละลายเกลือแร่ 1 แก้ว |
3. กลุ่มยาระบาย
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับเด็ก |
บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เหน็บ ทวารหนักเพื่อช่วยในการขับถ่าย |
ใช้เหน็บทวารหนักครั้งละ 1 แท่ง เมื่อต้องการ โดยควรรอไว้ 15 นาที เพื่อให้ตัวยาละลาย |
ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่ |
||
ยาระบายแมกนีเซีย | เป็นยาระบาย | เขย่าขวดก่อนใช้ยา รับประทานก่อนนอน หรือ ตื่นนอนเช้า เด็ก 1-6 ปี ครั้งละ 1-3 ช้อนชา เด็ก 6-12 ปี ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผู้ใหญ่ ครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ |
ยาระบายมะขามแขก ชนิดเม็ด | รับประทานก่อนนอน หรือ ตื่นนอนตอนเช้า เด็ก 6-12 ปี ครั้งละ 1-2 เม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3-4 เม็ด |
|
ยาระบายโซเดียม คลอไรด์ ชนิดสวนทวาร |
ใช้สวนทวารเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ | สวนเข้าทวารหนักแล้วกลั้นไว้ และจึงเข้าห้องน้ำ เด็ก 1-6 ปี ใช้ครั้งละ 5-10 มล. เด็ก 6-12 ปี ใช้ครั้งละ 10-20 มล. ผู้ใหญ่ ใช้ครั้งละ 20-40 มล. |
4. กลุ่มยาถ่ายพยาธิ
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีตัวยาเบนดาโซล |
ใช้สำหรับถ่ายพยาธิ เส้นด้ายตัวกลม |
เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน สำหรับพยาธิเส้นด้าย และพยาธิเข็มหมุด เด็ก 2 ปี – ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหารเย็น สำหรับพยาธิตัวกลมอื่น ๆ ได้แก่ พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน และพยาธิแส้ม้า เด็ก 2 ปี – ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ดวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็นติดต่อกัน 3 วัน |
5. กลุ่มยาบรรเทาปวด ลดไข้
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 325 มก. |
ใช้สำหรับลดไข้ บรรเทาอาการปวด |
รับประทานทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ และไม่ควรทานเกิน 4 ครั้ง/วัน เด็ก 6-12 ปี ครั้งละ ครึ่ง-1 เม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด |
ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 500 มก. |
รับประทานตอนท้องว่างหรือหลังอาหารทันทีทุก 4-6 ชั่วโมง และดื่มน้ำมาก ๆ เมื่อมีอาการ ไม่ควรทานเกินวันละ 5 ครั้ง เด็ก 3-6 ปี ครั้งละ ครึ่ง-1 เม็ด เด็ก 6-12 ปี ครั้งละ 1 เม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด |
|
ยาน้ำบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล | รับประทานทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ และไม่ควรทาน เกิน 5 ครั้ง/วัน เด็ก 3-6 ปี ครั้งละ 1 ช้อนชา |
|
พลาสเตอร์บรรเทาปวด | ใช้บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ | เช็ดบริเวณผิวหนังให้สะอาด และแห้ง จากนั้น ปิดพลาสเตอร์ บริเวณที่มีอาการปวด ควรเปลี่ยนวันละ 1-2 ครั้ง |
6. กลุ่มยาแก้แพ้ลดน้ำมูก
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาเม็ดแก้แพ้ ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน |
บรรเทาอาการแพ้ เช่น ลมพิษ น้ำมูกไหล |
รับประทานทุก 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการเด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ไม่ควรเกินวันละ 6 เม็ด ผู้ใหญ่ |
7. กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ
รายชื่อยา |
สรรพคุณ |
ขนาดและวิธีใช้ |
ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะ สำหรับเด็ก |
บรรเทาอาการไอ
และช่วยขับเสมหะ |
รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง เด็ก 1-3 ปี ครั้งละ ครึ่งช้อนชา |
ยาแก้ไอน้ำดำ |
เขย่าขวดก่อนใช้รับประทาน เด็ก 6-12 ปี ครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชา |
8. กลุ่มยาดม หรือ ทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก
รายชื่อยา |
สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาดมแก้วิงเวียน |
บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด หรือใช้ทาผิวหนังเนื่องจากพิษแมลงกัดต่อย หรือถูกพืชมีพิษ |
ใช้ชุบสำลีดม หรือ ใช้ทา |
ยาดมแก้วิงเวียน |
บรรเทาอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก และวิงเวียนศีรษะ |
ใช้สูดดม หรือ ทาบาง ๆ |
ยาทาระเหยบรรเทาอาการ คัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง |
บรรเทาอาการคัดจมูก และลดอาการหวัด |
ทายาที่บริเวณลำคอ |
9. กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาเม็ดแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท |
ใช้ป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ | ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 30 นาที |
10. กลุ่มยาสำหรับโรคตา
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์ | รักษาอาการตาแดง ตาอักเสบจากโรคติดเชื้อ | ใช้หยอดตาครั้งละ 1-2 หยด
วันละ 3-4 ครั้ง |
ยาล้างตา | ใช้ล้างตาเพื่อบรรเทาอาการแสบตา ระคายเคืองตา เนื่องจากผง ควัน สิ่งสกปรกเข้าตา | ใช้ล้างตาวันละ 2-3 ครั้ง |
11. กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยากวาดคอ | บรรเทาอาการอักเสบและเจ็บในลำคอ | เติมน้ำสะอาดเท่าตัว แล้วใช้กวาดคอในผู้ใหญ่ |
ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเซี่ยนไวโอเลต |
รักษากระพุ้งแก้ม และลิ้นเป็นฝ้าขาว | ใช้สำลีชุบทาบริเวณที่เป็น วันละ 2-3 ครั้ง |
ยาแก้ปวดฟัน | บรรเทาอาการปวดฟัน | ใช้ไม้เล็ก ๆ พันสำลี ชุบยาอุดฟันบริเวณที่เป็นรู |
ยาอมบรรเทาอาการระคายคอ | ช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการระคายคอ | อมให้ละลายในปากช้า ๆ ครั้งละ 1-5 เม็ด |
ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ | ช่วยให้อาการเจ็บคอดีขึ้น |
12. กลุ่มยาใส่แผล ล้างแผล
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน | รักษาแผลสด | ใช้สำลีสะอาดชุบยา จากนั้นทาบริเวณแผล |
ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล | ใช้รักษาแผลถลอก แผลเปื่อย | |
ยาใส่แผล โพวิโดน-ไอโอดีน | รักษาแผลสด | |
ยาไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ | ทำความสะอาดบาดแผลทุกชนิด | ใช้ทำความสะอาดรอบบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ |
ยาเอทิล แอลกอฮอล์ | ||
น้ำเกลือล้างแผล |
13. กลุ่มยารักษาแผลติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยารักษาแผลติดเชื้อ ซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม |
ใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาอาการ ติดเชื้อของแผล ที่เกิดจาก ไฟไหม้ หรือ น้ำร้อนลวก |
ทำความสะอาดแผลให้สะอาด และใช้ทาบริเวณแผลที่เป็น ทุกวันวันละ 2 ครั้งสำหรับแผลที่ถูกไฟไหม้ควรทาครีม ทุก 24 ชั่วโมง |
14. กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
ยาหม่อง ชนิดขี้ผึ้ง | บรรเทาอาการปวด บวม อักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อย หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย |
ทาและนวดบริเวณที่มีอาการ |
15. กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง
รายชื่อยา | สรรพคุณ | ขนาดและวิธีใช้ |
---|---|---|
ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต |
ใช้สำหรับรักษาหิด เหา และ โลน | เขย่าขวดก่อนใช้ยา สำหรับเด็กเล็กแนะนำให้ แบ่งยามาเติมน้ำเท่าตัว จากนั้นผสมให้เข้ากัน สำหรับรักษาหิด สำหรับรักษาเหา และ โลน หากภายใน 7 วันยังไม่หายให้ใส่ยาซ้ำตามวิธีเดิม |
ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกำมะถัน |
ใช้สำหรับรักษาโรคหิด | ทาบริเวณที่เป็นหิด วันละ 2-3 ครั้ง |
ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า |
รักษากลาก เกลื้อน และโรคน้ำกัดเท้า |
ทาบริเวณที่เป็นโรค วันละ 2-3 ครั้ง |
ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง | รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง บางชนิด เช่น เรื้อนกวาง ผิวหนังเป็นผื่นคัน |
|
ยาทาแก้ผดผื่นคันคาลาไมน์ | บรรเทาอาการคันเนื่องจาก ผดผื่นคัน และ ลมพิษ |
เขย่าขวดก่อนใช้ยา |
ยารักษาเกลื้อน โซเดียม ไทโอซัลเฟต |
รักษาเกลื้อน |
เติมน้ำสะอาดจนถึงคอขวด แนะนำทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน |
ข้อควรระวังในการใช้ยาสามัญประจำบ้าน
- ควรอ่านฉลาก และใบกำกับยาอย่างละเอียด โดยควรตรวจสอบข้อมูลบนฉลากยา เช่น ปริมาณการใช้, เวลาที่ควรใช้ (ก่อนหรือหลัง), ผลข้างเคียง และข้อควรระวัง หรือการเก็บรักษายา เพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง
- อย่าใช้ร่วมกับยาอื่นโดยไม่ปรึกษาเภสัชกร การใช้ยาหลายชนิดพร้อมกันอาจทำให้ยาเกิด “ปฏิกิริยาระหว่างยา” (drug interaction) เช่น ต้านฤทธิ์กัน หรือเสริมฤทธิ์กันจนเป็นอันตราย
- ไม่ควรใช้ยาที่หมดอายุ หรือมีลักษณะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น สี กลิ่น เนื้อสัมผัส เพราะนั่นอาจหมายถึงตัวยาที่มีฤทธิ์ลดลง หรือกลายเป็นสารที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย รวมไปถึงยาที่หมดอายุ ถึงแม้ว่ายาบางชนิดจะดูไม่เปลี่ยนแปลง แต่ภายในอาจเสื่อมสภาพแล้ว จึงไม่แนะนำให้ใช้ต่อ
- หลีกเลี่ยงการ “เดายา” หรือใช้ตามคำบอกเล่าจากคนอื่น เช่น การใช้ยาตามคำแนะนำจากเพื่อน ญาติ หรือข้อมูลในอินเทอร์เน็ต โดยไม่รู้แน่ชัดว่ายาเหมาะกับเราไหม ซึ่งอาจเสี่ยงต่ออาการแพ้ หรือการรักษาที่ไม่ตรงจุด
- ไม่ควรใช้ยาร่วมกับแอลกอฮอล์ การใช้ยาสามัญประจำบ้านกับแอลกอฮอล์ อาจเสริมฤทธิ์หรือรบกวนการออกฤทธิ์ของยา เช่น ยาแก้แพ้จะทำให้ง่วงมากขึ้นหากดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย ซึ่งเป็นอันตรายหากต้องขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร
วิธีดูแลและเก็บรักษายาสามัญประจำบ้าน
เพื่อให้ยาอยู่ในสภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพ เจ้าของบ้านควรปฏิบัติตามดังนี้
- เก็บยาในที่แห้ง หรือเย็น เพื่อให้ห่างไกลจากแสงแดด
- หลีกเลี่ยงการเก็บยาในห้องน้ำหรือที่มีความชื้นสูง
- ปิดฝาภาชนะให้แน่นหลังใช้
- ตรวจสอบวันหมดอายุของยาเป็นประจำ
- แยกยาเด็ก และ ยาผู้ใหญ่ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสน
การใช้สิทธิบัตรทองในการขอรับยาสามัญประจำบ้าน
สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสีย มีบาดแผล หรือ เกิดผื่นผิวหนัง ฯลฯ สามารถใช้สิทธิบัตรทอง เพื่อรับบริการที่ร้านยาที่เข้าร่วม “โครงการร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ” ได้ ซึ่งจะมีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษา และจ่ายยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้แพ้ทั่วไป หรือ ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง เพื่อบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ ให้หายดีขึ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับรักษาอาการคันที่ร้านยา สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาใกล้บ้านได้ผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [เช็กรายชื่อร้านยาได้ที่นี่] โดยร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้เข้าร่วมโครงการสิทธิบัตรทอง พร้อมให้บริการ Delivery จัดส่งยาและสินค้าสุขภาพถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee
ใช้บริการ Delivery คลิกเลย!
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ยาสามัญประจำบ้าน
Q: ยาสามัญประจำบ้าน จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์หรือไม่?
A: ไม่จำเป็น เพราะยาสามัญดังกล่าว ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายและใช้ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
Q: เราสามารถใช้ยาสามัญประจำบ้าน แทนการไปหาหมอได้ไหม?
A: ใช้ได้เฉพาะกรณีที่อาการไม่รุนแรง แต่ถ้าใช้แล้วยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรไปพบแพทย์ทันที
Q: หากใช้ยาสามัญประจำบ้านเกินขนาดจะเป็นอะไรไหม?
A: อาจเกิดผลข้างเคียง หรือพิษจากยา เช่น พาราเซตามอลเกินขนาดอาจทำให้ตับวาย ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากสงสัยว่าใช้ยาเกินขนาด
สรุป
การมี “ยาสามัญประจำบ้าน” ติดไว้ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เนื่องจากสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ในเบื้องต้น ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการลุกลามจนรุนแรง ดังนั้น ทุกครอบครัวจึงควรจัดเตรียมยาสามัญประจำบ้านให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณรวมถึงวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง เพื่อให้การใช้ยาเป็นไปอย่างปลอดภัย
ที่มา
สืบค้นยาสามัญประจำบ้าน จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รายการยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน จาก กระทรวงสาธารณสุข
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ แล้วมาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง