มึนหัวตลอดเวลา เกิดจากอะไร เคยไหม? อยู่ดี ๆ ก็รู้สึกมึนหัว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ทั้ง ๆ ที่สุขภาพร่างกายไม่ได้ป่วยเป็นหวัด หรือ อดนอนเลย โดยอาการแบบนี้หากเกิดขึ้นซ้ำบ่อย ๆ นั่นอาจไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป เพราะถือเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างที่กำลังบ่งบอกว่าร่างกายของเรานั้นกำลังเผชิญกับความผิดปกติ
ด้วยความห่วงใยจาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ มึนหัวตลอดเวลา เกิดจากอะไร รวมสาเหตุที่ควรรู้ พร้อมวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง มาฝากกัน
อาการมึนหัว คืออะไร?
อาการมึนหัว (Dizziness) คือความรู้สึกไม่มั่นคงทางร่างกาย รู้สึกเบาหวิว ราวกับจะล้ม หรือในบางครั้งอาจรู้สึกว่าโลกหมุน (เวียนศีรษะ) ซึ่งแตกต่างจากอาการปวดหัวโดยสิ้นเชิง อาการมึนหัวตื้อ ๆ มักมาพร้อมกับความรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออก หูอื้อ ตาพร่ามึนหัว หรืออ่อนเพลียร่วมด้วย
มึนหัวสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือเกิดขึ้นซ้ำบ่อย ๆ จนกลายเป็น “มึนหัวตลอดเวลา” ซึ่งควรสังเกตว่าเป็นอาการชั่วคราวหรือมีโรคแฝงอยู่เบื้องหลัง บางคนอาจรู้สึกมึนหัวเพียงไม่กี่นาที แต่บางรายอาจรู้สึกต่อเนื่องทั้งวัน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การทำงาน และการเข้าสังคมในชีวิตประจำวัน
อาการมึนหัวตลอดเวลา มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง?
เมื่อร่างกายส่งสัญญาณผ่านความรู้สึกมึนศีรษะอยู่ตลอดเวลา อาจสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นภายใน แม้อาการดังกล่าวอาจดูไม่รุนแรงในช่วงแรก แต่หากเกิดขึ้นซ้ำบ่อยหรือยาวนานกว่าปกติ ควรให้ความใส่ใจและพิจารณาสาเหตุอย่างรอบคอบ โดยอาการมึนหัวตลอดเวลา มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้างนั้น มาดูกัน
-
ความเครียดและสภาวะทางจิตใจ
หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องรับมือกับแรงกดดันจากงาน หรือ ปัญหาชีวิตส่วนตัว ความเครียดเรื้อรัง วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หรืออาการแพนิก ที่สามารถรบกวนการทำงานของระบบประสาทได้โดยตรง จนส่งผลทำให้เกิดอาการมึนศีรษะ หน้ามืด หรือแน่นหน้าอก โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด เช่น การพูดต่อหน้าคนหมู่มาก หรืออยู่ในพื้นที่แออัด เป็นต้น
-
ภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือ เกลือแร่
อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายจากการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน เช่น การดื่มน้ำน้อย หรือ เสียเหงื่อมากเกินไปหลังออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งเมื่อร่างกายขาดน้ำ หรือ สูญเสียเกลือแร่จำนวนมาก อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำลง และส่งผลให้สมองมีการสูบฉีดเลือดที่ไม่เพียงพอ
ซึ่งทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หรือ รู้สึกเบาหวิวได้ง่าย ๆ โดยมักพบในช่วงที่อากาศร้อนจัดหรือหลังจากการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก
-
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
มักพบได้ในผู้ที่งดอาหารเป็นเวลานาน หรือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อระดับน้ำตาล มีการลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ก็มักทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหน้ามืด มือเย็น เหงื่อออกมาก หรือในบางรายอาจมีอาการมึนศีรษะตามมา
-
การทรงตัวที่ผิดปกติ
เช่น โรคเวียนศีรษะจากหูชั้นใน (BPPV) หรือ เวียนหัว บ้านหมุน ที่มักเกิดขึ้นเมื่อเวลาขยับศีรษะเร็ว ๆ เช่น หันคอ หรือลุกขึ้นนั่งอย่างรวดเร็ว ฯลฯ โดยมักมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้ ที่อาจทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างลำบาก ซึ่งหากพบอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
-
ความดันโลหิตต่ำ หรือ สูงผิดปกติ
เมื่อความดันไม่อยู่ในระดับสมดุล ร่างกายจะสูญเสียความสามารถในการควบคุมการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง โดยหากผู้ป่วยมีความดันที่ต่ำ อาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะเวลายืนขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ป่วยความดันสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้ ซึ่งอาการมึนหัวจากสาเหตุนี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนสุขภาพเริ่มต้นที่ไม่ควรมองข้าม
-
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
เนื่องจากยาหลายมักมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อระบบประสาทโดยตรง เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต หรือ ยาแก้แพ้ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เรารู้สึกวิงเวียนศีรษะ ง่วงนอน หรือมีความไม่มั่นคงในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความไวต่อฤทธิ์ของยาเป็นพิเศษ จึงควรติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเมื่อมีการใช้ยา
-
อาการปวดหัวไมเกรน
สำหรับผู้ที่มีประวัติปวดหัวไมเกรน บางครั้งอาการเวียนศีรษะ อาจเกิดขึ้นก่อน หรือ หลังการปวดศีรษะได้ง่ายๆ โดยที่อาการมักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และอาจมีความรุนแรงที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นจึงหากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำจะดีที่สุด
-
ภาวะโลหิตจาง
ภาวะนี้เกิดจากการที่ร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ทำให้การส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงยังสมองมีไม่เพียงพอ ซึ่งผู้ที่มีภาวะโลหิตจางนี้ มักมีอาการรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ใจสั่น และมึนศีรษะเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาก หรือ ผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารไม่ครบหมู่ และขาดธาตุเหล็ก
-
โรคระบบประสาท และ สมอง
แม้จะเป็นสาเหตุที่พบไม่บ่อย แต่โรคในกลุ่มนี้มักมีความรุนแรงสูง เช่น โรคพาร์กินสัน เนื้องอกในสมอง หรือโรคหลอดเลือดสมอง อาการเวียนศีรษะจากสาเหตุเหล่านี้มักเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่ชัดเจน เช่น เดินเซ พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง หรือหมดสติ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ทันที
มึนหัวแบบนี้ ควรใช้ยาอะไรดี?
การเลือกใช้ยาบรรเทาอาการมึนหัว คลื่นไส้ควรอ้างอิงจากสาเหตุที่แท้จริงของอาการ เพื่อให้การรักษาได้ผลลัพธ์ดีที่สุด โดยเภสัชกรแนะนำการใช้ยาเบื้องต้นในแต่ละกรณี ดังนี้
- ยาแก้มึนหัว เวียนศีรษะ
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการมึนหัวจากความผิดปกติของหูชั้นใน เช่น โรคเวียนศีรษะตำแหน่งศีรษะผิดปกติ (BPPV) หรือภาวะเมารถ เมาเรือ โดยยาที่แพทย์มักจะใช้คือ Dimenhydrinate (ดิมีนไฮดริเนต) และ Betahistine Hydrochloride ซึ่งออกฤทธิ์ช่วยปรับสมดุลของระบบประสาทส่วนที่ควบคุมการทรงตัว - ยาคลายความวิตกกังวลแบบอ่อน
สำหรับผู้ที่มีอาการมึนหัวร่วมกับความเครียด วิตกกังวล หรือภาวะแพนิก เช่นในผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะขณะอยู่ในที่แออัด ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Doxylamine หรือ Diazepam ที่มีฤทธิ์ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและลดอาการกระวนกระวาย โดยต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น - ยารักษาอาการแพ้หรือไซนัสอักเสบ
ในกรณีที่มึนหัวเกิดจากการคัดจมูก ภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ ยาแก้แพ้ เช่น Chlorpheniramine สามารถช่วยลดอาการอักเสบในโพรงไซนัสและลดความดันภายในศีรษะได้ - ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการมึนหัวจากภาวะโลหิตจาง หรือขาดสารอาหารที่สำคัญ เช่น ธาตุเหล็ก วิตามิน B12 หรือภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ โดยอาจพิจารณาให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ธาตุเหล็กชนิดรับประทาน, วิตามินบีรวม หรือเกลือแร่แบบชงดื่ม (ORS)
ข้อควรระวังในการใช้ยา
- ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้หรือยาคลายกังวล ควรหลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเกิน 3 วัน หากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
- ยาบางประเภท อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม ปากแห้ง หรือวิงเวียนมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ จึงควรระมัดระวังในการใช้
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาใด ๆ
- หลีกเลี่ยงการขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร หรือกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ หลังรับประทานยาแก้เวียนศีรษะหรือยาใด ๆ ที่มีฤทธิ์กดประสาท
- สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แม้สามารถใช้ต่อเนื่องได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ควรใช้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำบนฉลาก
ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าอาการเวียนศีรษะของตนเกิดจากอะไร ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยจากบุคลากรทางการแพทย์ และรับคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง
เมื่อเกิดอาการมึนหัว มีวิธีแก้ หรือดูแลเบื้องต้นอย่างไร?
สำหรับคนที่ชอบมีอาการมึนหัวบ่อย ๆ วิธีแก้อาการมึนหัวเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามได้ ดังนี้
- ควรหยุดกิจกรรมทันที โดยเฉพาะหากคุณกำลังขับรถ หรืออยู่บนที่สูง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
- ลองนั่งหรือนอนลงในท่าที่ศีรษะอยู่ในระดับเดียวกับร่างกาย และทำการหลับตาดูสักครู่เพื่อให้สมองได้มีการพักผ่อน
- ดื่มน้ำเปล่าช้า ๆ หากสงสัยว่าเกิดจากภาวะขาดน้ำหรืออากาศร้อน
- หายใจเข้าลึก ๆ เพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวล และพยายามควบคุมลมหายใจให้สม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว เช่น การลุกจากเตียงฉับพลัน ควรนั่งพักก่อนประมาณ 1 นาทีแล้วค่อยลุก
- หลีกเลี่ยงคาเฟอีน และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ เพราะอาจกระตุ้นอาการให้มีความรุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ หากมีอาการมึนหัวตลอดเวลา หรือเกิดขึ้นบ่อย ควรบันทึกเวลาที่เกิด รายละเอียดอาการร่วม เพื่อนำไปแจ้งแพทย์ในการวินิจฉัย
การใช้สิทธิบัตรทองเพื่อขอรับยาอาการแก้มึนหัว เวียนศีรษะ
สำหรับผู้ที่มีอาการมึนหัวตลอดเวลา เวียนศีรษะ ปวดหัว โดยไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และต้องการขอคำแนะนำจากเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ สามารถใช้สิทธิบัตรทอง เพื่อรับบริการที่ร้านยาที่เข้าร่วม “โครงการร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ” ได้ ซึ่งจะมีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษา และจ่ายยาที่จำเป็นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับรักษาอาการคันที่ร้านยา สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาใกล้บ้านได้ผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [เช็กรายชื่อร้านยาได้ที่นี่] โดยร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้เข้าร่วมโครงการสิทธิบัตรทอง พร้อมให้บริการ Delivery จัดส่งยาและสินค้าสุขภาพถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee
ใช้บริการ Delivery คลิกเลย!
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ มึนหัวตลอดเวลา เกิดจากอะไร
Q: อาการมึนหัวตลอดเวลา เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?
A: อาการมึนหัวตลอดเวลาสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของหูชั้นใน เช่น น้ำในหูไม่เท่ากัน หินปูนในหูชั้นในหลุด, ความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ, โลหิตจาง, โรคไมเกรน, ความเครียด, พักผ่อนไม่เพียงพอ และผลข้างเคียงจากยา หรือปัญหาจากกล้ามเนื้อต้นคอ
Q: อาการมึนหัวตลอดเวลาแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์?
A: หากมีอาการมึนหัวร่วมกับอาการอื่นที่รุนแรง เช่น ชาตามแขนขา เดินเซ พูดไม่ชัด ตาพร่ามัว อาเจียนรุนแรง หรือมีประวัติเป็นลมหรือหมดสติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง
Q: ควรดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการมึนหัวตลอดเวลา?
A: เบื้องต้นควรหยุดกิจกรรมเสี่ยง นั่งหรือนอนพัก ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว และพักผ่อนให้เพียงพอ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเกิดขึ้นบ่อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
สรุป มึนหัวตลอดเวลา เกิดจากอะไร
อาการมึนหัวตลอดเวลา ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และไม่ควรละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ และ โรคร้ายบางอย่างที่กำลังซ่อนอยู่ เช่น ความเครียดและสภาวะทางจิตใจ, การทรงตัวที่ผิดปกติ, ความดันเลือด, ผลข้างเคียงจากการใช้ยา และ โรคสมองต่าง ๆ เป็นต้น
ดังนั้น การรู้จักสาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการนี้ จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับอาการได้อย่างถูกต้อง ทั้งในแง่ของการใช้ยา การดูแลตัวเอง และการพบแพทย์เมื่อจำเป็น
ที่มา
อาการบ้านหมุน เวียนศีรษะ จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ไมเกรน อาการปวดหัวสุดกวนใจ จาก โรงพยาบาลรามาธิบดี
What Is Dizziness? จาก WebMD
Dimenhydrinate จาก Medline Plus
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ แล้วมาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง