โควิดสายพันธุ์เดลต้า กับ หน้ากากสองชั้น

โควิด เดลต้า หน้ากาก สูงวัย เภสัชกร ร้านขายยา

เชื้อโควิดที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ พบว่าร้อยละ 69.1 เป็นการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าซึ่งทำให้ตัวเลขการติดเชื้อของไทยเราสูงขึ้นมาก

ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าเป็นยังไง ทำไมเราถึงต้องเพิ่มการปกป้องเป็นสองชั้น

  1.  สายพันธุ์เดลต้าแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม

  2. เมื่อมีการระบาดเป็นจำนวนมาก เชื้อแพร่กระจายกันในคนกลุ่มใหญ่ ทำให้ไวรัสเกิดการกลายพันธุ์

  3. พบว่าสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ และจับกับเซลล์ปอดได้มากขึ้น

ดังนั้นในช่วงการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า เราควรปกป้องตัวเองในระดับขั้นสูงสุด ด้วยการสวมหน้ากากสองชั้นตามคำแนะนำจากกรมควบคุมโรค โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรคพบว่าวิธีในการใส่หน้ากาก ส่งผลถึงความสามารถในการป้องกันไวรัสโควิด ดังนี้

  1. สวมหน้ากากอนามัย 1 ชั้น หากมีช่องโหว่ สามารถป้องกันเชื้อได้ 3%

  2. สวมหน้ากากอนานัย 1 ชั้น แนบหน้าสนิท สามารถป้องกันเชื้อได้ 95%

  3. สวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น อย่างถูกวิธี สามารถป้องกันเชื้อได้ 95%

โควิด เดลต้า หน้ากาก สูงวัย เภสัชกร ร้านขายยา

วิธีการสวมหน้ากากสองชั้นที่ไม่ถูกต้อง

  1. สวมหน้ากากอนามัย ร่วมกับหน้ากาก N95 ไม่ว่าจะใส่หน้ากากอนามัยไว้ด้านนอกทับ N95  หรือ  ไว้ด้านในแล้วทับด้วยหน้ากาก N95 ก็ตาม  หน้ากาก N95 ไม่ได้ออกแบบมาให้ใส่ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากหากใส่อย่างถูกต้องแล้ว การหายใจจะทำได้ยากมาก อาจเป็นลม หมดสติได้ หากใส่หน้ากาก N95 อย่างถูกต้องในชีวิตประจำวัน

  2. สวมหน้ากากอนามัยทับหน้ากากผ้า จะเกิดรอยรั่วมากจนไม่สามารถป้องกันละอองฝอยได้

  3. สวมหน้ากากอนามัยทับกันสองชั้น หน้ากากอนามัยเมื่อใส่ทับกัน 2 ชั้น จะยิ่งมีรู ไม่กระชับใบหน้า

  4. หากใส่หน้ากากสองชั้นแล้วไม่กระชับ หรือหายใจไม่ออก ทำให้ต้องจับหรือขยับหน้ากากบ่อยๆ ไม่แนะนำให้ใส่สองชั้น เนื่องจากยิ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคสัมผัสใบหน้ามากขึ้น


วิธีการใส่หน้ากากสองชั้นที่ถูกต้อง

  1. ด้านในที่ติดกับใบหน้า ใส่หน้ากากอนามัย กดลวดโลหะให้หน้ากากอนามัยแนบกับสันจมูก คลุมทั้งจมูก ปาก คาง ส่วนด้านนอกใส่หน้ากากผ้า เพื่อช่วยกดทับให้หน้ากากอนามัยแนบกระชับกับใบหน้ามากขึ้น

  2. ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุก 6-8 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ ถึงแม้จะมีความรู้สึกว่า ไม่ได้ออกไปพบความเสี่ยงอะไร แต่การพูดและลมหายใจ มีเชื้อโรคและสิ่งสกปรกออกมาเสมอ ดังนั้นไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ   ไม่ควรซักหน้ากากอนามัย เพราะหน้ากากอนามัยออกแบบมาสำหรับใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง  การเปียกน้ำและชุ่มสารซักฟอกทำให้เนื้อเยื่อของหน้ากากอนามัยห่างออก สารเคลือบกันน้ำหายไป

  3. หน้ากากผ้าด้านนอก ควรซักทุกวัน โดยการซักควรใช้น้ำยาซักผ้าหรือสบู่ และใช้เวลาในการขยี้หรือให้หน้ากากสัมผัสกับน้ำยาซักอย่างน้อย 20 วินาที

  4. ไม่ควรฉีดแอลกอฮอล์บนหน้ากากอนามัย ด้านหน้าของหน้ากากอนามัยมีสารเคลือบกันน้ำไว้ การฉีดแอลกอฮอล์ทำให้หน้ากากอนามัยเสียคุณสมบัติการป้องกันน้ำ ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้

  5. การใส่หน้ากากสองชั้น ให้สังเกตอาการของตัวเองว่ายังสามารถหายใจออก หากรู้สึกหายใจไม่ออก ปวดศีรษะ วิงเวียน ง่วงซึม ไม่ควรฝืนใส่สองชั้น


การเลือกซื้อหน้ากากอนามัยควรเลือกซื้อที่ได้มาตรฐาน

หน้ากากควรมีโลหะตรงสันจมูก ให้สามารถกดเข้ารูปแนบกับใบหน้าของแต่ละบุคคลได้ สามารถป้องกันน้ำและความชื้นได้ ป้องกันละอองฝอยได้ หน้ากากที่ได้มาตรฐานจะมีขนาดรูประมาณ 3-5 ไมครอน ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

หน้ากากอนามัยนับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นสิ่งปกป้องชีวิตของเรา

ดังนั้นแนะนำให้ซื้อหน้ากากอนามัยจากร้านขายยาที่เชื่อถือได้ มีระบบจัดซื้อที่ผ่านการตรวจสอบสินค้าก่อนนำมาขายให้ผู้บริโภค  เภสัชกรประจำร้านยังสามารถให้คำแนะนำท่านได้หากมีอาการของระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการหรือการปฏิบัติตัวในภาวะการระบาด และหากเลือกซื้อหน้ากากอนามัยทางออนไลน์ ควรเลือกซื้อจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อความมั่นใจในคุณภาพของหน้ากากอนามัยที่เราจะนำมาใช้ปกป้องชีวิตของเรา

และถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสทุกสาขาใกล้บ้าน หรือที่ แอปฯ ALL PharmaSee ดาวน์โหลดฟรีที่ 

Open this in UX Builder to add and edit content

  1. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=19857&deptcode=brc
  2. https://ddc.moph.go.th/odpc9/news.php?news=18454&deptcode=odpc9
  3. https://www.nsm.or.th/other-service/679-online-science/knowledge-inventory/science-news/science-news-science-museum/5184-new-delta-plus-variant.html
  4. https://www.chula.ac.th/news/41029/
  5. https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/news/detail/50/1827
  6. https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue040/believe-it-or-not

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง หลายคนเมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางไปเที่ยว มักจะลืมของสำคัญ หรือ ไอเทมจำเป็น ที่ต้องใช้ในการเดินทางซึ่งอาจทำให้การไปทริปในแต่ละครั้งรู้สึกติดขัด หรือ ไม่สนุกสนานเท่าที่ควรหยุดยาวนี้ให้คุณได้ท่องเที่ยวอย่างอุ่นใจ บทความนี้ เอ็กซ์ต้า พลัส ได้รวบรวมสิ่งของที่จำเป็นเมื่อต้องเดินทางไปเที่ยว ว่าในแต่ละภาคต้อง เตรียมอะไรไปบ้างมาฝากทุกคนกันค่ะ

วิธีการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุ ในช่วงปลายฝนต้นหนาว

ในช่วงปลายฝนต้นหนาว เป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง อากาศเริ่มเย็นลง ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม ส่งผลโดยตรงกับ สุขภาพผู้สูงอายุ ที่การทําหน้าที่ของร่างกายในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลาย ๆ ด้านเริ่มเสื่อมถอยลง โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid ลองโควิด (Long Covid) คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 –

อาหารเสริมสร้างความจำ ในผู้สูงวัย

อาหารเสริมสร้างความจำ สิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงวัย เพราะยิ่งอายุเพิ่มขึ้นความจำเรื่องต่าง ๆ ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพลดน้อยลง โดยเฉพาะอาการหลง ๆ ลืม ๆ ที่จะนำไปสู่โรคสมองเสื่อมได้

โรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 50 ปี ซึ่งสามารถพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุ 60-90 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงถึง 60%

ผู้สูงอายุดูแลตัวเอง ยังไงในช่วงหน้าหนาว

ช่วงนี้อากาศกำลังหนาว และเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อนบ้าง หนาวบ้าง อาจจะทำให้ร่างกายของวัยเก๋าอย่างพวกเราปรับตัวกันไม่ทัน วันนี้เอ็กซ์ต้า จึงมีความรู้ดี ๆ เรื่อง ผู้สูงอายุดูแลตัวเอง ยังไงในช่วงหน้าหนาว มาฝากทุกคนกันค่ะ

Checklist อาการวัยทองมีอะไรบ้าง?

เช็กลิสต์ อาการวัยทอง ในผู้หญิง หรือภาวะวัยทองในผู้หญิง เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือน นั่นก็คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะวัยทองแล้ว

ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างไร ให้เหมาะกับสุขภาพ

จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558 พบว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยจะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป วันนี้เอ็กซ์ต้า จึงมีข้อมูลดี ๆ สำหรับวิธีที่ ผู้สูงอายุออกกำลังกาย อย่างไรให้เหมาะกับสุขภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

บันทึก