รู้จักกับอาการ ตาติดจอ (Computer Vision Syndrome)

ในยุคที่เราต้อง Work From Home ต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 และในการทำงานที่บ้านนานๆ สิ่งที่อาจตามมาคือ ปัญหาสุขภาพ และปัญหายอดฮิตในขณะนี้คือ ปัญหาสายตาที่เกิดจากการจ้องมองหน้าจอ

นานๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอมือถือ ทำให้เกิด Computer Vision Syndrome (CVS) โดยจะมีอาการ ตาแห้ง เนื่องจากการเพ่งหน้าจอเป็นเวลานานๆ จะทำให้อัตราการกระพริบตาลดลง จึงเกิดอาการตาแห้งได้ แสบตา น้ำตาไหล เกิดการระคายเคือง ตาพร่า ปวดกระบอกตา รวมไปถึงอาการปวดไหล่ปวดคอ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้เช่นกัน


การป้องกัน 

  1. ปรับแสงในพื้นที่การทำงานให้มีปริมาณเหมาะสม ไม่จ้า และมืดจนเกิน เนื่องจากแสงที่ไม่เหมาะสมนั้นจะทำให้ดวงตาอ่อนล้าได้ไวขึ้น

  2. ปรับโต๊ะทำงาน โดยที่สายตาควรอยู่ห่างจากจอประมาณ35-40 นิ้ว และตรงกลางจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 5-6 นิ้วเพื่อลดอาการไม่สบายตา

  3. ใช้แผ่นกรองแสงคอมพิวเตอร์เพื่อกรองรังสีที่เป็นอันตรายต่อดวงตา

  4. การพักสายตาระหว่างการทำงานที่จอคอมพิวเตอร์บ่อยๆโดยใช้กฏ 20-20-20 คือการพักสายตาทุกๆ 20 นาที โดยมองไปที่ไกลๆ ประมาณ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อพักสายตา และมีการยืดเหยียดทุกวันเพื่อลดอาการปวดบริเวณ คอ บ่า ไหล่

รู้จักกับอาการ ตาติดจอ (Computer Vision Syndrome)

การรักษา 

เมื่อมีอาการตาแห้ง สามารถใช้น้ำตาเทียมในรูปแบบสารละลาย เพื่อลดการระคายเคืองจากตาแห้งได้ และหากมีอาการตาแห้งระดับปานกลางถึงรุนแรง แนะนำให้ใช้น้ำตาเทียมในรูปแบบขี้ผึ้ง หรือ Ointment จะให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตาได้ยาวนานกว่าแบบสารละลาย แต่ถ้าหากมีอาการปวดตา ปวดหัว และแสบตามากจนรบกวนชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป


ปัญหา Computer Vision Syndrome (CVS) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในช่วงที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

โดยเฉพาะช่วงที่ต้องทำงาน Work From Home ช่วงนี้ก็จะทำให้เกิด CVS ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการปรับสถานที่ทำงานให้มีความเหมาะสม การพักสายตา ก็เป็นอีกวิธีการดูแลตนเองง่ายๆ เพื่อห่างไกลโรคตาติดจอค่ะ


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

Open this in UX Builder to add and edit content

1. รศ.นพ.ศุภชัย  รัตนมณีฉัตร, 2021. โรคในออฟฟิศ. [online] Si.mahidol.ac.th. Available at: <https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=711> [Accessed 4 October 2021].
2. Watson, S., 2021. Computer Vision Syndrome: Too Much Screen Time?. [online] WebMD. Available at: <https://www.webmd.com/eye-health/computer-vision-syndrome> [Accessed 4 October 2021].
3. KY Loh, S., 2021. Understanding and Preventing Computer Vision Syndrome. [online] PubMed Central (PMC). Available at: <https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4170366/> [Accessed 4 October 2021].

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 กิจกรรมทำคลายเครียด เมื่อต้องอยู่ห้องนาน ๆ ในช่วง WFH

ปัจจุบันประเทศไทยเรามีมาตรการ Lockdown ส่งผลให้เราจำเป็นต้อง Work From Home อย่างเลี่ยงไม่ได้  

Work from Bed ภัยเงียบที่ควรระวัง

หลังจากที่เรา Work from Home กันมาสักระยะนึงแล้วจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 และก็ยังไม่มีวี่แววว่าเราจะได้กลับไป Work at Office กันเมื่อไร

3 วิธีพบเภสัชกรได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล สะดวก ปลอดภัย ทำได้ที่บ้านคุณ

3 วิธีพบเภสัชกรได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล สะดวก ปลอดภัย ทำได้ที่บ้านคุณ 🏡 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

บันทึก