มะเร็ง หัวใจ หลบไป แชมป์ใหม่คือ ‘ดื้อยา’

หากคุณก็เป็นคนหนึ่งที่เมื่อเป็นไข้หวัด ไอ เจ็บคอ แล้วไปซื้อยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย) ที่คนส่วนใหญ่มักเรียกกันผิดว่า ‘ยาแก้อักเสบ’ เพราะเชื่อว่าจะทำให้อาการเจ็บไข้หายเร็วขึ้น รู้หรือไม่ว่า ยาที่คุณทานเข้าไปนั้นไม่สามารถรักษาโรคไข้หวัดได้ เพราะไข้หวัดส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากเชื้อไวรัส

ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส และไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ อย่างที่หลายคนเข้าใจ จริงๆ แล้วยาปฏิชีวนะใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง เพราะการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ยาพร่ำเพรื่อนั้นจะก่อให้เกิด ‘อาการดื้อยา’ ได้ ปัจจุบันการจ่ายยาปฏิชีวนะ กว่า 1 ใน 5 ไม่มีความจำเป็น เพราะการเจ็บไข้หลายประเภท สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการพักผ่อน

สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ (PHE) ได้คาดการณ์ว่าหากคนไข้ยังไม่เลิกใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ ในปี ค.ศ. 2050 อัตราส่วนของผู้เสียชีวิตจากการดื้อยาทั่วโลกจะพุ่งสูงกว่าการเสียชีวิตจากผู้ป่วยมะเร็ง

สำหรับประเทศไทยนั้นมีติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน และเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000 – 38,000 คน ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดเสียอีก

จากสถิติดังกล่าว เราทุกคนควรหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ยาปฏิชีวนะให้มากขึ้น โดยปัจจุบันนี้มีกลุ่มโรค 3 กลุ่มที่ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มโรคเหล่านี้ไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่

  1. ไข้หวัด มีอาการเจ็บคอ
  2. ท้องเสีย
  3. แผลเลือดออก

หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรหาทางรักษาตามอาการ เฉพาะกรณีที่มีอาการรุนแรงควรพบแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกรในการใช้ยาทุกครั้ง

นอกจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อและผิดวัตถุประสงค์ในการรักษาแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุใกล้ตัวที่ทำให้เกิดอาการดื้อยาก็คือ การติดเชื้อจากสัตว์โดยเฉพาะการทานเนื้อหมูที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีการตรวจพบฟาร์มหมูจำนวนมากในประเทศไทยที่ใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ชื่อว่า ‘โคสิลติน’ (Colistin) ที่ไม่ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใช้ในการผสมอาหารให้หมูกินเพื่อป้องกันและรักษาหมูที่ติดโรคท้องร่วงหรือโรคอื่นๆ เกิดเป็นเชื้อดื้อยาสายพันธุ์ใหม่ ‘เอ็มซีอาร์-วัน’ (MCR-1) ส่งผลให้ผู้ที่ทานเนื้อหมูที่มีสารนี้ตกค้าง หรือแม้กระทั่งผู้ที่เลี้ยงหมูเองได้รับเชื้อเข้าร่างกาย ทำให้เกิดอาการดื้อยาแบคทีเรียสายพันธุ์รุนแรงขึ้นได้

อันตรายของการดื้อยาชนิดนี้ก็คือ หากผู้ที่ได้รับเชื้อเกิดการเจ็บป่วยก็จะไม่มียาตัวไหนในโลกที่จะสามารถรักษาได้แล้ว เพราะเชื้อแบคทีเรียนั้นได้พัฒนาตัวเองให้ดื้อยาโคลิสตินซึ่งถือว่าเป็นตัวยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาไปแล้ว อาการดื้อยาจึงเป็นมหันตภัยขั้นร้ายแรงที่วงการแพทย์ทั่วโลกกำลังกลัวกันว่าจะทำให้มนุษย์ในอนาคตเสียชีวิตกันเป็นจำนวนมาก

ฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการดื้อยา เราจึงควรใช้ยาให้เหมาะสมและตรงกับชนิดของโรคที่จะรักษา เอ็กซ์ต้าขอแนะนำว่า การตัดสินใจเลือกใช้ยาปฏิชีวนะควรจะต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์หรือคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนใช้เสมอค่ะ

This entry was posted in and tagged .

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก